Saturday, November 17, 2012

“ตามรอยความเผ็ด”

ร้าน “ซาดิสส์” เป็นร้านอาหารไก่ย่าง ส้มตำ กินแล้วหูแดงลุกเป็นไฟ เพราะมันเผ็ด สมกับชื่อร้านจริงๆ ด้วยรสชาติของ capsicin ซึ่งเป็นสารที่ให้ความเผ็ดในพริก (Chillies)
           ความเผ็ดคืออะไร

              วันนี้ 25 สิงหาคม 2549 มีโอกาสได้ไปกินข้าวเที่ยงกับเพื่อนร่วมงานที่ร้านซาดิสส์ซึ่งเป็นร้านอาหารไก่ย่าง ส้มตำ  ของชอบของชาวอิสาน พอไปถึงก็เริ่มสั่งเมนูเด็ดทันที คือ ตำลาวแซ่บๆ (อร่อย) 3 จาน ไก่ 2 ไม้ พออาหารมาถึงโต๊ะเท่านั้นแหละครับ ถึงได้รู้ว่าความแซ่บมันไม่ได้ปราณีใคร ต่างคนต่างหิวเริ่มซัดซะเต็มที่ พอเริ่มรู้สึกตัวเท่านั้นหละครับ หูแดงลุกเป็นไฟ เพราะมันเผ็ด สมกับชื่อร้านจริงๆ ด้วยรสชาติของ capsicin ซึ่งเป็นสารที่ให้ความเผ็ดในพริก (Chillies) จึงทำให้ผมนึกถึงอดีตเมื่อต้นปี 2549 ที่ผ่านมาทันที ครั้นเมื่อคราวที่ผมและทีมงานวิจัยได้ศึกษาช่องทางการตลาดพริกในจังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดศรีสะเกษ        
          พริกวันละ 200 กว่าตัน ต่อวันไปไหน พี่น้องชาว KM ทราบไหมครับว่าจังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดศรีสะเกษเป็นแหล่งผลิตพริกที่ใหญ่ที่สุดในเขตภาคอิสาน เพราะในช่วงของเดือนพฤศจิกายนมีนาคมของทุกปี และในปีนี้ผลผลิตพริกที่ปลูกโดยพี่น้องเกษตรกร และถูกรวบรวมโดยพ่อค้าคนกลาง แล้วถูกลำเลียงส่งไปขาย ที่จังหวัดขอนแก่น นครราชสีมา กรุงเทพ นครปฐม ที่เป็นพริกแดง และสำหรับพริกเขียวจะถูกลำเลียงส่งไปขายในเขตภาคใต้ของประเทศไทย และอีกส่วนหนึ่งถูกลำเลียงไปขายแถวประเทศมาเลเซีย 

 

           ลานกว้างของปั๊มน้ำมันคือจุดซื้อขายพริก  ความเอื้ออาทรที่เอื้อประโยชน์ซึ่งกันระหว่างพ่อค้าคนกลาง และเจ้าของปั๊มน้ำมัน กล่าวคือ พ่อค้ารวบรวมผลผลิตพริกรายใหญ่จะมารอผู้รวบรวมผลผลิตพริกรายย่อย ที่ปั๊มน้ำมันติดถนนสายหลัก และมีลานกว้าง หลังจากนั้นเวลาประมาณ 1-2 ทุ่ม พ่อค้ารวบรวมผลผลิตพริกรายย่อยก็จะมาส่งผลผลิตพริกเพื่อขายให้กับพ่อค้ารวบรวมรายใหญ่ ที่จุดนัดพบ รับเงินเสร็จพอจะกลับบ้าน ส่วนใหญ่ก็จะเติมน้ำมันไปด้วย จึงเป็นการเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกันเรียกได้ว่า Win-Win ทั้งคู่นะครับ           


                     ทำไมทั้งสองจังหวัดจังมีพริกขายในช่วงนี้ นี่คือการจัดการความรู้ของพี่น้องเกษตรกรที่มีการมาจากบรรพบุรุษ นั่นก็คือการเอาชนะธรรมชาติ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลผลิตพริกที่ดีมีคุณภาพ  กล่าวคือพี่น้องเกษตรกรทั้งสองจังหวัดนี้ จะมีการจัดการความรู้และได้มีการวางแผนการผลิตเพื่อให้ผลผลิตที่ออกมาไม่ให้ไปชนกับผลผลิตที่มาจากที่อื่น ซึ่งจะทำให้ได้ราคาที่สูง อีกทั้งในการจัดการความรู้สำหรับพี่น้องเกษตรเกษตรที่ไม่มีที่ดินที่อยู่ที่ดอนจะได้วางแผนการผลิต โดยทำการปรับระดับดินให้มีความสูงขึ้นมาเหนือระดับที่น้ำท่วมไม่ถึง เนื่องจากการที่จะได้ผลผลิตพริกออกมาในช่วงดังกล่าว เกษตรกรต้องปลูกในฤดูฝน ดังนั้นจึงต้องยกระดับดินให้สูงขึ้นป้องกันน้ำท่วมขังอันจะส่งผลเสียหายต่อผลผลิตได้????   แล้วท่านล่ะครับเผ็ดไหมๆ....
ขอบคุณครับ
อุทัย   อันพิมพ์
25 สิงหาคม 2549 

0 comments:

Post a Comment