Saturday, February 2, 2013

เพิ่มผลผลิตพริกขี้หนูด้วยดินแดง

 เพิ่มผลผลิตพริกขี้หนูด้วยดินแดง 

คุณอุไรวรรณ เลี่ยมทอง เกษตรกรชาวจันทบุรีผู้มีประสบการณ์การทำสวนและการเพาะปลูกพืชผัก ได้ผลสำเร็จในการเพาะชำกล้าพืช โดยเฉพาะพริกขี้หนูสวน พริกชี้ฟ้า ฯลฯ ที่เน้นคุณภาพของดินที่มีแร่ธาตุอาหารมา โดยเฉพาะ “ดินแดง” ดินบริสุทธิ์ ในเขต อ.ท่าใหญ่ จ.จันทบุรี ทำให้การเพาะกล้าพริกประสบความสำเร็จ ต้นพริกแข็งแรง เติบโตได้คุณภาพ และที่สำคัญได้ผลผลิตเกินขาด


วิธีการทำ/การเตรียมอุปกรณ์

++ อุปกรณ์ ++

1.ดินแดง (ดินบริสุทธิ์ คุณภาพดี แร่ธาตุครบถ้วน ของ อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี)

2.ถุงดำเพาะชำ ขนาด 2 ?6 (โดยจะตัดส่วนเกินทิ้ง วัดจากปากถุงลงมา 2-3 ซม.)

3.ภาชนะสำหรับเพาะชำ

4.เมล็ดพันธุ์พริกแห้ง ที่ได้รับการเลือกให้เป็นเมล็ดพันธุ์ดี

วิธีการเลือกเมล็ดพันธุ์พริก

1.เก็บพริกแก่จากต้นพริกที่สมบูรณ์

2.สังเกตต้นพริกที่สมบูรณ์ดังนี้ ใบพริกงามไม่หงิกงอ ยอดไม่เสีย ไม่มีการเน่าปลายยอด

3.นำพริกแก่ที่เก็บ มาแช่น้ำ 2 วัน

4.นำขึ้นจากน้ำ นำมาบด หรือตำเบา ๆ เพื่อให้เปลือกหลุดออก นำเฉพาะเม็ดแท้ๆ เพื่อเป็นเมล็ดพันธุ์ เท่านั้น

5.นำเมล็ดพันธุ์มาตากให้แห้ง 1 วัน (ตากลมในที่ร่มเท่านั้น)

วิธีการทำ

1.นำดินแดงใส่ในภาชนะเพาะชำ ตามต้องการ

2.หว่านเมล็ดพริก ให้ทั่วพอประมาณ

3.โปรยดินกลบบาง ๆ

4.พรมน้ำวันละครั้ง
** หมายเหตุ **

ระยะเวลา 1 สัปดาห์ ต้นกล้าจะโผล่พ้นดินให้เห็น ควรทิ้งระยะให้มีการเจริญเติบโต จนสังเกตเห็นใบเลี้ยงใบที่ 3-4 จึงนำกล้ามาแยกลงในถุงเพาะชำ (สีดำขนาด2 ?6 )จำนวน 1 ต้น ต่อ 1 ถุง เพื่อรอการจำหน่าย สร้างรายได้ในราคา ต้นละ 3-5 บาท

ที่มา :

ศูนย์ทางด่วนข้อมูลทางการเกษตร*1677
สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ.จันทบุรี

--------- ^ ^ --------

แหล่งอ้างอิง :
อุไรวรรณ เลี่ยมทอง 36 หมู่ 7 ต. ท่าช้าง อ.เมือง จ.จันทบุรี.สัมภาษณ์,5 ตุลาคม 2552


การป้องกันกำจัดโรครากปมพริก

การป้องกันกำจัดโรครากปมพริก 

ร่วม ในปี 2550 พบการแพร่ระบาดของโรครากปมพริก ในพื้นที่การปลูกพริกของจังหวัดอุบลราชธานีและพื้นที่ใกล้เคียงกว่า 1,629 ไร่ เป็นสาเหตุทำให้พริกมีผลผลิตและคุณภาพลดลงตั้งแต่ 50-100% คิดเป็นมูลค่าความเสียหาย 50-80 ล้านบาท ทำให้มีเกษตรกรทำเรื่องร้องเรียนมายังสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่4 (สวพ.4) เพื่อช่วยแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน




ดร.สรศักดิ์ มณีขาว ผู้เชี่ยวชาญการผลิตพืชภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่4 (สวพ.4) กรมวิชาการเกษตร จ.อุบลราชธานี ได้ให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิดจังหวัดอุบลราชธานี ไว้ดังนี้ "ในปี 2550 พบการแพร่ระบาดของโรครากปมพริก ในพื้นที่ปลูกพริกของจังหวัดอุบลราชธานีและพื้นที่ใกล้เคียงกว่า 1,629 ไร่ เป็นสาเหตุทำให้พริกมีผลผลิตและคุณภาพลดลงตั้งแต่ 50-100% คิดเป็นมูลค่าความเสียหาย 50-80 ล้านบาท ทำให้มีเกษตรกรทำเรื่องร้องเรียนมายังสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่4 (สวพ.4) เพื่อช่วยแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน"

ทั้งนี้ ทีมนักวิจัยได้ทำงานแบบบูรณาการร่วมกับนักวิชาการโรคพืชเฉพาะด้านไส้เดือนฝอยและศัตรูพืชอื่นๆที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งประสานงานกับกรมส่งเสริมการเกษตรในท้องที่เพื่อทำการทดสอบเทคโนโลยีการจัดการศัตรูพืช ในปี 2550-2551โดยมีกิจกรรมการทดสอบดังนี้

1.ใช้ความร้อนฆ่าไส้เดือนฝอยในดิน สำหรับเพาะกล้าพริกมีผลในการฆ่าตัวอ่อนของไส้เดือนฝอยที่อยู่ในดินได้

2.การใช้สารอะบาเม็กติน ซึ่งเป็นสารชนิดถูกตัวตายก่อนปลูกพืชนั้นควบคุมการเกิดปมได้เท่ากับ 50-70%

3.การนำพืช 4 ชนิดมาปลูกสลับหมุนเวียนกับพริก เพื่อตัดวงจรชีวิตของไส้เดือนฝอยรากปมหรือลดจำนวนประชากรไส้เดือนฝอยในดินเป็นอีกหนึ่งวิธีป้องกันกำจัดโรคโดยวิธีเขตกรรม พืช 4 ชนิด ได้แก่ งา ถั่วลิสง ดาวเรืองและปอเทือง แสดงให้เห็นว่าการใช้พืชปลูกสลับกับการใช้ความร้อนก่อนเพาะเมล็ดช่วยลดระดับการเกิดโรครากปมได้ โดยปอเทืองเป็นพืชที่ปลูกสลับก่อนปลูกพริกได้ดีที่สุด ช่วยลดการเกิดปมในพริกที่ปลูกตามหลังปอเทืองได้ 100%


----------- ^ ^ ---------

ที่มา :

ศูนย์ทางด่วนข้อมูลทางการเกษตร*1677
สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ.อุบลราชธานี

กำจัดโรคกุ้งแห้งในพริกด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา

กำจัดโรคกุ้งแห้งในพริกด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา 

คุณณัฐกานต์ มีปัญหาเรื่องการทำสวนพริกขี้หนู ซึ่งได้บอกกับทีมงานทางด่วนข้อมูลการเกษตรกร จังหวัดนครศรีธรรมราชว่า เกษตรกรในพื้นที่ม. 5 ต. เกาะทวด อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพทำสวนพริกขี้หนูเป็นการพาณิชย์ แต่ในช่วงนี้ได้ประสบปัญหาพริกเป็นโรคกุ้งแก้ง ตนและเกษตรกรรายอื่นจึงโทรมาสอบถามว่าโรคกุ้งแก้งสามารถแก้ไขได้อย่างไรบ้าง




ทางทีมงานจึงประสานไปยังนักวิชาการเกษตร ของศูนย์บริหารศัตรูพืช จ.สงขลา คุณวัชรีบอกว่าปัญหาโรคกุ้งแห้งนั้นสามารถใช้สารไตรโคเดอร์มาฉีดพ่นป้องกันได้ วิธีการคือ นำหัวเชื้อไตรโคเดอร์มามาผสมกับน้ำเปล่าอัตราส่วน หัวเชื้อไตรโคเดอร์มา 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร หากว่าระยะการระบาดของโรคกุ้งแห้งมากให้ใช้อัตราส่วน หัวเชื้อไตรโคเดอร์มา 1 กิโลกรัม ต่อ น้ำ100ลิตร ฉีดพ่นในระยะที่โรคกุ้งแห้งเริ่มติดผลฉีดทุกสัปดาห์ สัปดาห์ละ 3-4 วันในช่วงเย็น

**ที่สำคัญ คือ ตัวเกษตรกรต้องหมั่นค่อยเก็บผลที่เป็นโรคกุ้งแห้งออกไปทำลายโดยการเผา หากเห็นว่ามีผลติดโรคนี้แล้วควรเด็ดเผา เพราะเชื้อของโรคกุ้งแห้งจะปลิวไปกับลมสามารถทำให้ผลพริกอื่นติดโรคนี้ไปด้วย

--------- ^ ^ ---------
ที่มา :
ศูนย์ทางด่วนข้อมูลการเกษตร *1677
สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ.นครศรีธรรมราช

สูตรสมุนไพรป้องกันแมลงวันทองเจาะผลพริก

สูตรสมุนไพรป้องกันแมลงวันทองเจาะผลพริก

 

แมลงที่เข้าทำลายให้พริกได้รับความเสียหายได้แก่ แมลงวันทอง ซึ่งเป็นคนละชนิดกับที่เข้าทำลายในผลไม้ (malaysian fruit fly) เมื่อเข้าทำลายย่อมสร้างความเสียหายให้เกิดขึ้นกับผลผลิตพริกเป็นอย่างมาก เนื่องจากพริกที่โดนแมลงวันทองเข้าทำลาย จะมีลักษณะบวม มีหนอนอยู่ข้างใน และร่วงหล่นในที่สุด เกิดความเสียหายแก่เกษตรกร ด้วยเหตุนี้ คุณทองอารย์ สามศรี เกษตรกรบ้านเวียงเกษม ต. หนองสะโน อ. บุณฑริก จ. อุบลราชธานี ซึ่งเป็นเกษตรกรผู้ที่เชี่ยวชาญในด้านการปลูกพริก ได้แนะนำสูตรสมุนไพรที่ใช้ในการป้องกันกำจัดแมลงวันทองในพริก ซึ่งใช้ได้ผลดีจริงในแปลงปลูกไว้ดังนี้



++ สูตรสมุนไพรที่ใช้ในการป้องกันกำจัดแมลงวันทองเจาะผลพริก++

ส่วนผสม :

1. ยาเส้น จำนวน 3 ขีด

2. น้ำส้มสายชู จำนวน 1 ขวด

3. เหล้าขาว จำนวน 1 ขวดใหญ่

4. น้ำยาล้างจาน จำนวน 3 ช้อนโต๊ะ

วิธีการทำ :

นำส่วนผสมทั้งหมดผสมให้เข้ากัน อาจจะเติมจุลินทรีย์ EM หรือกากน้ำตาลด้วยก็ได้ หมักทิ้งไว้ในถังพลาสติกทึบแสงประมาณ 7 วัน ก็สามารถนำน้ำหมักสมุนไพรมาใช้ได้

วิธีการนำไปใช้ :

น้ำหมัก 2-5 ช้อนแกง (20-50 ซีซี)/น้ำ 20 ลิตร นำไปฉีดพ่นให้ทั่วแปลง โดยฉีดทั้งบนใบและใต้ใบ อาจจะแดพ่น 3-4 วัน ครั้ง หรืออาทิตย์ละครั้งก็ได้ แล้วแต่ความรุนแรงของการเข้าทำลาย แต่คุณทองอารย์ สามศรี เน้นว่าฉีดพ่นถี่เท่าไรก็ยิ่งดี เพราะน้ำหมักสมุนไพรไม่เป็นอันตราย ปลอดภัยหายห่วง

---------- ^ ^ -----------

ที่มา :

ศูนย์ทางด่วนข้อมูลการเกษตร *1677
สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ.อุบลราชธานี

การปลูกดาวเรืองป้องกันแมลงในสวนพริก

การปลูกดาวเรืองป้องกันแมลงในสวนพริก 



พริกถือว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งของไทย ซึ่งผลผลิตมากกว่า 90% ใช้เพื่อบริโภคภายในประเทศเป็นหลัก แต่ปัญหาที่สำคัญของการผลิตพริกที่พบเจอกันประจำ คือปัญหาแมลงศัตรูพริก เช่น หนอน เพลี้ย วันนี้เราจะแนะนำเกี่ยวกับวิธีการแก้ปัญหา ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพริกตามแบบฉบับของคุณทองอารย์ สามศรี ซึ่งเป็นเกษตรกรชาวจังหวัดอุบลราชธานี โดยวิธีการปลูกดาวเรืองไว้รอบๆแปลงพริก เพื่อป้องกันการเข้าทำลายของแมลงศัตรูพริก โดยเฉพาะแมลงหวี่ขาว



คุณทองอารย์ สามศรี ปลูกพริกมาเป็นเวลา 5 ปี สามารถผลิตพริกได้ใบรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัย (GAP) ปัญหาที่พบในการปลูกพริกในช่วงฤดูแล้ง และต้นฤดูฝน คือ แมลงหวี่ขาวเข้าทำลายพริก โดยแมลงหวี่ขาวตัวเต็มวัยเป็นเป็นแมลงขนาดเล็ก ลำตัวสีเหลืองมีปีก 1 คู่ ปกคลุมด้วยผงสีขาว จะเคลื่อนไหวเมื่อถูกรบกวน วางไข่เป็นฟองเดี่ยว ๆ หรือชิดติดกันที่ด้านใต้ใบพืช ไข่มีสีเหลืองอ่อนลักษณะยาวเรียวและมีก้านสั้น ๆ ยึดติดกับใบพืช ตัวอ่อนมีรูปร่างคล้ายรูปไข่ ขอบด้านข้างลาดลง สีเหลืองปนเขียว ตัวอ่อนวัยที่ 1 เคลื่อนไหวได้ ตัวอ่อนที่มีอายุมากขึ้นจะเกาะนิ่งอยู่ด้านใต้ใบพืชและดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบเป็นอาหาร เป็นแมลงจำพวกปากดูด ดูดน้ำเลี้ยงจากต้นพริก ทำให้ต้นพริกหงิกงอ เหี่ยวเฉา หยุดการเจริญเติบโต และอาจตายได้ในที่สุด หากช่วงใดมีฝนตกชุก ปัญหาก็จะทุเลาลง แต่หากช่วงใดมีฝนตกน้อย ปัญหาก็จะเกิดขึ้นมาก จากความช่างสังเกต จึงพบว่าเมื่อมีต้นดาวเรืองที่ขึ้นข้างต้นพริกตามธรรมชาติอยู่ในบริเวณใด บริเวณนั้นจะไม่มีปัญหาเรื่องแมลงหวี่ขาวเข้าทำลาย คุณทองอารย์ สามศรี จึงทดลองปลูกดาวเรืองรอบแปลงพริก ด้วยเทตนิคง่ายๆ ดังนี้

วิธีการของคุณอารย์ สามศรี :

1. ปลูกดาวเรืองรอบแปลงพริกให้ทั่ว

2. เมื่อดาวเรืองออกดอก **เวลาประมาณ ตี 3-4 (แล้วแต่สะดวก) ใช้ไม้เคาะที่ดอกดาวเรือง ดอกดาวเรืองจะคลายกลิ่นออกมา ซึ่งสามารถไล่แมลงโดยเฉพาะแมลงหวี่ขาวได้เป็นอย่างดี

-------- ^ ^ -----------

ที่มา :

ศูนย์ทางด่วนข้อมูลการเกษตร *1677
สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ.อุบลราชธานี

พริกพิโรธหรือพริกร้อยครก

พริกพิโรธหรือพริกร้อยครก
 


วันนี้ทางทีมงานร่วมด้วยช่วยกันสงขลา มีเรื่องราวของพริกพิโรธร้อยครกมาฝากกัน ซึ่งเป็นข่าวดีด้วยว่า หากจะหาปลูกติดบ้านไว้ คงช่วยลดค่าใช้จ่ายเรื่องพริกลงได้มาก ทางทีมงานฯ ได้ไปพบกับคุณวิลาศ โพธิภักดี ซึ่งได้เล่าให้ฟังเราถึงความเป็นมาของพริกพิโรธร้อยครกว่า ได้รับแจกเมล็ดพันธุ์มาจาก การไปเที่ยวชมงานเกษตรภาคใต้ครั้งที่ 16 ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่ง สถานีร่วมด้วยช่วยกันสงขลา ได้จัดงานแสดงสินค้าเกษตรขึ้นมา โดยรวมผลิตภัณฑ์เด่น ๆ ของเกษตรกร มีผลิตภัณฑ์มากมาย หนึ่งในนั้นคือพริกพิโรธร้อยครกจาก ลพบุรี โดยได้รับการอนุเคราะห์จากคุณสุชาติ ม่วงสกุล ซึ่งในงานวันสุดท้ายคุณวิลาศ เป็นผู้โชคดี ได้รับแจกเมล็ดพันธุ์มา 1 เมล็ด จึงนำไปเพาะพันธุ์ต่อ นับตั้งแต่นั้นมา เมื่อพริกพิโรธฯ เริ่มขยายพันธุ์ได้แล้ว ตอนนี้มีพริกพิโรธฯ อยู่มากมายเต็มบ้านเลยทีเดียว และยังคงมีเมล็ดแห้งที่พร้อมจะขยายพันธุ์ได้อีกมากนับพันต้น และตอนนี้คุณวิลาศ ก็พร้อมแล้วที่จะเพาะพันธุ์เพื่อจำหน่ายจ่ายแจก คาดว่า เมื่อเข้าสู่หน้าฝนนี้ คงจะเริ่มมีกล้าพริกพิโรธฯ เพิ่มขึ้นมากอีกนับพันกล้าเลยทีเดียว

พริกพิโรธร้อยครก เป็นพริกที่มีความเด่นพิเศษในเรื่องความเผ็ด ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า มีความเผ็ดมาก ๆ โดยผู้เป็นเจ้าของที่จังหวัดลพบุรี คือคุณสุชาติ ม่วงสกุล ได้เคยทำการตรวจวัดวิเคราะห์ความเผ็ดจากผู้เชี่ยวชาญว่า มีความเผ็ดประมาณ 800,000 สโควิลส์ นับได้ว่าเผ็ดมาก ๆ เกือบเท่าพริกปีศาจของอินเดียที่เผ็ดที่สุดในโลก ซึ่งมีความเผ็ดประมาณ 1,000,000 สโควิลส์ หากจะเปรียบเทียบกับพริกขี้หนูของไทยซึ่งมีความเผ็ดเพียง 35,000 สโควิลส์ เท่านั้น

ตอนนี้สถานการณ์ล่าสุดของพริกนั้น ทั่วประเทศกำลังประสบปัญหาพริกราคาแพง ซึ่งตอนนี้ราคากิโลกรัมละ 250 บาทเลยทีเดียว ( จ.สตูล ) จะเป็นการดีหากได้พริกพิโรธร้อยครกมาช่วยเอื้อประโยชน์ตรงนี้ บางที หากมีการขยายผลไปในแนวทางที่ถูกต้อง อาจทำให้ชาวบ้านได้รับประโยชน์จากพริกพิโรธร้อยครกนี้เป็นอย่างมาก

-------- ^ ^ --------

ที่มา :

ศูนย์ทางด่วนข้อมูลการเกษตร *1677
สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ.สงขลา

การปลูกพริกเพื่อการค้า

การปลูกพริกเพื่อการค้า

พริกเป็นพืชผักที่มีความสำคัญในการประกอบอาหารประจำวัน สำหรับคนไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากคนไทยนิยมรับประทานอาหารที่มีรสชาติค่อนข้างเผ็ด จึงนิยมปลูกพริกเพื่อบริโภคในครัวเรือนและนอกจากนี้ยังมีการปลูกพริกเพื่อการค้าในรูปพริกสด ผลิตภัณฑ์แปรรูปเครื่องปรุงแต่งรส เช่น พริกแห้ง พริกป่น น้ำพริกเผา น้ำพริกแกง และซอลพริก เป็นต้น พริกที่ปลูกกันมากในปัจจุบันนี้สามารถแบ่งตามขนาดของผลพริก ได้ 2 ชนิด ดังนี้
1. การเตรียมดินปลูกพริก

ควรขุดหรือไถดินให้ลึกประมาณ 15 ซม. ตากดิน 5-7 วัน ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกที่สลายตัวแล้ว ประมาณ 20 กก. ต่อเนื้อที่ 5 ตารางเมตร พรวนย่อยผิวหน้าดินให้ละเอียด เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินแปลงเพาะควรใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 400 – 500 กรัม พรวนกลบลงในดิน รอบแปลงเพาะควรใช้สารเคมี เช่น ออลดรินโรยเพื่อป้องกันมด แมลง เข้าไปทำลายเมล็ดพันธุ์ที่เริ่มงอก

2. การเตรียมเมล็ดพันธุ์พริก

ควรเลือกใช้พันธุ์พริกที่ตรงตามความต้องการของตลาดมีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ก่อนนำเมล็ดพันธุ์ไปหว่าน คัดเมล็ดพันธุ์ที่ไม่สมบูรณ์ออกโดยนำเมล็ดพันธุ์แช่น้ำสะอาดเมล็ดพันธุ์ที่เสียจะลอยน้ำแล้วคัดออก นำเมล็ดพันธุ์ดีคลุกสารเคมีไดเทนเอม 45 อัตราส่วน 1 ช้อนแกงต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กก. หรือนำไปแช่น้ำอุ่นที่อุณหภูมิประมาณ 50 องศาเซลเซียส เป็นเวลานานประมาณ 30 นาที ก่อนนำไปหยอดหรือหว่านในแปลงเพาะกล้า

3. การเพาะเมล็ดพริก

นำเมล็ดพันธุ์หว่านให้กระจายทั่วทั้งแปลงเพาะ หรือโรยเมล็ดเป็นแถวลงไปในร่องลึก 0.6 – 1 ซม. ห่างกันแถวละประมาณ 10 ซม. กลบด้วยปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วหรือดินผสมละเอียดรดน้ำให้ชุ่มเสมอ คลุมด้วยฟางแห้งหรือหญ้าแห้งบางๆ เมื่อกล้าเริ่มงอกมีใบจริงอายุประมาณ 12 – 15 วัน ถอนแยกต้นที่เป็นโรคอ่อนแอ ไม่สมบูรณ์ หรือต้นที่ขึ้นเบียดกันแน่นเกินไปทิ้ง ให้มีระยะห่างกันพอสมควร และควรให้ปุ๋ยเสริมทางใบเพื่อให้ต้นกล้าเจริญเติบโตและแข็งแรง เมื่อต้นกล้าอายุ 30 – 40 วัน ก็สามารถย้ายลงปลูกในแปลงใหญ่ได้

4. การย้ายกล้าปลูกพริก

ก่อนย้ายกล้าควรรดน้ำเพื่อให้ต้นกล้าแข็งตัว ดินร่วน และง่ายต่อการถอนต้นกล้า การย้ายกล้าอาจจะย้ายจากแปลงเพาะลงในถุงเพาะชำก่อน เมื่อกล้ามีใบจริง 2 ใบ ระยะเวลาการชำในถุงประมาณ 15 – 20 วัน จะทำให้กล้าแข็งแรงสมบูรณ์ สม่ำเสมอกัน แล้วจึงย้ายปลูกในแปลงปลูก สำหรับการย้ายกล้าปลูกในแปลงปลูกควรย้ายกล้าในเวลาบ่ายถึงเย็น ขณะที่แสงแดดไม่ร้อนจัด หลังจากปลูกรดน้ำต้นกล้าที่ปลูกใหม่ให้ชุ่ม ให้ใช้ฟางแห้งหรือหญ้าแห้งคลุมดินเพื่อช่วยรักษาความชุ่มชื้นในดิน จะทำให้ต้นกล้าตั้งตัวได้เร็วขึ้น

5. การเตรียมดินปลูกพริก

ต้องพิจารณาเลือกพื้นที่ที่มีการระบายน้ำได้ดี การกำหนดแถวปลูกให้กำหนดแถวคู่ห่างกัน 1.20 ม. และให้ระยะระหว่างแถวห่างกัน 0.50 ม. ระยะระหว่างต้น 0.50 X 0.50 ม. เมื่อเตรียมแปลงปลูกแล้วให้ใส่ปุ๋ยคอกในอัตราไร่ละ 1,200 – 3,000 กก. ทำการคลุกปุ๋ยคอกให้เข้ากับดินแล้วใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ในอัตรา 50 กก. ต่อไร่ และใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดแมลงชนิดดูดซึม คือ คาร์โบฟูราน เช่น ฟูราดาน คูราแทร์ โรยลงไปในหลุมประมาณ ? ช้อนชา และในสภาพดินที่เป็นกรดจัดควรใช้ปูนขาวในอัตรา 200 – 400 กก.ต่อไร่

6. การปฏิบัติดูแลรักษาพริก

1. การให้น้ำพริก - พริกเป็นพืชที่ต้องการน้ำอย่างเพียงพอ และสม่ำเสมอในช่วงแรกของการเจริญเติบโต ดินควรมีความชุ่มชื้นพอดีอย่าให้เปียกแฉะเกินไปจะทำให้ต้นพริกเหี่ยวตายได้ ในช่วงเก็บผลผลิตควรลดการให้น้ำเพื่อจะทำให้คุณภาพผลผลิตดี สีของผลสวย

2. การกำจัดวัชพืช - ในระยะที่ต้นพริกยังเล็กควรมีการกำจัดวัชพืชให้บ่อยครั้ง หากวัชพืชคลุมต้นพริกช่วงระยะการเจริญเติบโต จะทำให้แคระแกร็นคุณภาพผลผลิตไม่ดี การกำจัดวัชพืชน้อยครั้งยังมีผลทำให้ดินที่มีผิวหน้าแข็งหรือเหนียวจับกันเป็นแผ่น น้ำซึมผ่านได้ยากให้มีการถ่ายเทอากาศและระบายน้ำดี

3. การใส่ปุ๋ยพริก - พริกเป็นพืชที่มีอายุการเก็บผลค่อนข้างยาวนาน ปุ๋ยที่ใช้ควรเป็นปุ๋ยที่มีธาตุอาหารครบ เช่น ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 13-13-21 ในอัตรา 50-100 กก.ต่อไร่ เพื่อเป็นการช่วยเสริมการเจริญเติบโต นอกจากนี้ควรใส่ปุ๋ยน้ำทางใบโดยทำการฉีดพ่นทุกครั้งหลังการเก็บเกี่ยว การใช้ปุ๋ยเคมีจะได้ผลต่อพืชสูงสุดขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินกับปริมาณการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ควบคู่กันไปด้วย

การใส่ปุ๋ยควรแบ่งใส่ 2 ครั้ง ใส่ครั้งแรกปริมาณครึ่งหนึ่งก่อนปลูกเป็นปุ๋ยรองพื้นพรวนกลบลงในดิน โรยปุ๋ยไนโตรเจนใส่ข้างต้นพริก เมื่ออายุ 10 -14 วัน หลังจากย้ายกล้า ใส่ครั้งที่สองปริมาณอีกครึ่งหนึ่งที่เลหือใส่โรยข้างแล้วแต่งหน้าด้วยปุ๋ยไนโตรเจนพรวนกลบลงในดิน

8. การเก็บเมล็ดพันธุ์พริก

การเก็บเมล็ดพันธุ์พริกถูกวิธีจะทำให้มีพันธุ์พริกที่ดี ติดผลดก ผลผลิตสูง มีความต้านทานต่อโรคและแมลง คุณภาพดีเป็นที่ต้องการของตลาดไว้สำหรับปลูกในฤดูกาลต่อไป ซึ่งเกษตรกรสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ได้ด้วยตนเอง ดังนี้

1. เลือกจากต้นที่มีลำต้นแข็งแรง สมบูรณ์ เหนียวไม่หักง่าย

2. เลือกจากต้นที่ให้ผลดก และขนาดผลใหญ่สมบูรณ์

3. เลือกจากต้นที่ปราศจากโรค และทนทานต่อโรคและแมลง

4. เลือกจากต้นที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นได้ดี

5. เลือกจากผลแก่สีแดงสด ในช่วงระยะเก็บ 7 วันต่อครั้ง จะได้เมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์

9. การคัดเมล็ดพันธุ์พริก

เมื่อคัดเลือกผลผลิตพริกได้ตามที่ต้องการแล้ว ให้นำไปบดหรือโขลกหยาบๆ จากนั้น นำพริกทั้งกากแช่ในน้ำเกลือแกง ในอัตราส่วนผสม คือ เกลือ 2 ช้อนต่อน้ำ 1 ลิตร หลังจากนั้นช้อนกากและเมล็ดลีบที่ลอยน้ำออกทิ้งไป ส่วนเมล็ดที่ดีให้นำไปผึ่งบนตะแกรงในล่อนหรือไม้ไผ่สาน ไม่ควรตากบนภาชนะโลหะเพราะจะทำให้เมล็ดพันธุ์ร้อนจัดเกินไป ระยะเวลาที่เหมาะสมที่แดดไม่ร้อนจัดควรเป็นตอนเช้าหรือบ่ายวันละ 2 – 3 ชั่วโมงโดยตาก 2 – 3 แดด จากนั้นเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ในภาชนะที่แห้ง ปราศจากความชื้นแล้วปิดฝาให้สนิท

10. การเก็บพริกทำพริกแห้ง

ควรเลือกเก็บพริกที่แก่จัดสีแดงสดตลอดทั้งผล ปราศจากโรคแมลง เข้าทำลายแล้วรีบนำไปทำให้แห้งโดยเร็วจะทำให้ได้พริกแห้งที่มีสีสวยและคุณภาพดี

- การทำพริกแห้งให้มีสีสวยคุณภาพดี มีหลายวิธีดังนี้

1. พริกใหญ่ ได้แก่ พริกชี้ฟ้า พริกมัน พริกเหลือง พริกหยวก พริกยักษ์

2. พริกเล็กหรือพริกขี้หนู ได้แก่ พริกจินดา พริกหัวเรือ พริกห้วยสีทน พริกจินดายอดสน พริกจินดาลาดหญ้า พริกขี้หนูสวน พริกเดือยไก่ พริกปากปวน

***พริกเป็นพืชในเขตร้อนหรือกึ่งร้อนที่ทนความแห้งแล้งได้ดีพอควร และสามารถปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ดินที่เหมาะสมที่สุดคือ ดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำดี ไม่มีน้ำท่วมขังหรือชื้นแฉะ เพราะจะทำให้รากเน่าและตายได้

อายุการปลูก : ตั้งแต่ย้ายกล้าจนถึงเก็บเกี่ยว

- พริกชี้ฟ้า พริกมัน พริกเหลือง อายุประมาณ 70 – 90 วัน

- พริกเล็กหรือพริกขี้หนู อายุประมาณ 60 - 90 วัน

- พริกยักษ์ อายุประมาณ 60 – 80 วัน

ฤดูปลูก :

ปลูกได้ตลอดปี แต่ปลูกได้ผลดีที่สุดระหว่างเดือน ตุลาคม - กุมภาพันธ์ เป็นช่วงที่เก็บผลผลิตในฤดูแล้ง ทำให้สะดวกในการตากแห้ง และช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพริกชี้ฟ้า พริกขี้หนู 24 – 29 องศาเซลเซียล

1. การตากแดด คือการนำพริกที่คัดเลือกแล้วนำมาตากแดดโดยตรง แผ่พริกบางๆ บนเสื่อ หรือพื้นบานซีเมนต์ที่สะอาด โดยตากแดดทิ้งไว้ 5 – 7 แดด

2. การอบด้วยไอร้อน คือการนำพริกเข้าอบด้วยไอร้อนในเตาอบโดยวางพริกบนตระแกรง แล้ววางตะแกรงเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ วิธีนี้เหมาะสำหรับเกษตรกรที่ปลูกพริกเป็นจำนวนมาก และการทำพริกแห้งในช่วงฤดูฝน

3. การลวกน้ำร้อน คือ การนำพริกไปลวกน้ำร้อนก่อน โดยลวกนาน 15 นาที แล้วนำไปตากแดดประมาณ 5 แดด วิธีนี้จะทำให้สีของพริกแห้งสวย และไม่ขาวด่าง

4. การอบพริกด้วยโรงอบพลังแสงอาทิตย์ เป็นวิธีที่ทำให้ได้พริกที่มีคุณภาพดี สีสวย ก้านพริกแห้งสีทองไม่ดำ สะอาดไม่มีฝุ่นจับอบได้ครั้งละ 400 กก. ใช้เวลาอบประมาณ 3 วัน

5. ในกรณีที่เก็บพริกแก่จัดแต่ไม่แดงตลอดทั้งผลให้นำพริกใส่รวมกันในเข่งหรือกระสอบปุ๋ยบ่มไว้ในที่ร่มประมาณ 2 คืน เพื่อทำให้พริกสุกสม่ำเสมอกัน หลังจากนั้นทำให้แห้งได้ตามกรรมวิธีในข้อ 1 – 4

ภาพประกอบโดย : Maminyada
---------------------------------- ^ ^ ------------------------------
ที่มา :
กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

พริกไทย ปลูกบนต้นปาล์ม

พริกไทย ปลูกบนต้นปาล์มที่มีอายุ 5 ปีขึ้นไป ดูแลง่ายให้ผลผลิตดี สามารถสร้างรายได้เสริมนอกเหนือจากการปลูกปาล์มได้อย่างดี

                เวลา ว่างส่วนใหญ่ของคุณลุงเฉลียว มักจะอยู่กับการปลูกต้นไม้ และการทำสวน เล็กๆ น้อยๆ กอรปกับพื้นที่บริเวณรอบบ้านมีสวนปาล์มน้ำมันอายุ ประมาณ 5-6 ปี จึงได้ทดลองนำพริกไทยมาทำการปลูกไว้บนต้นปาล์มน้ำมัน เพื่อหา รายได้เสริม พอทำมาได้สักระยะก็เห็นว่าให้ผลผลิตที่ดีจึงได้ดำเนินการมา อย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีวิธีการดังต่อไปนี้




**ต้น ปาล์มน้ำมัน : ต้นปาล์มน้ำมันควรมีอายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป เนื่องจากจะมีบริเวณต้นที่สามารถให้พริกไทยเจริญเติบโตได้ดีและจะทำให้แดด ส่องถึง**


การเตรียมกล้าพันธุ์พริกไทย :
1.ทำการตัดไหลพริกไทย ซึ่งมีความยาวประมาณ 50 ซม.
2.เตรียมถุงเพาะชำที่ใส่ดินขุยมะพร้าว และปุ๋ยคอก สำหรับพริกไทย
3.นำไหลพริกไทยมาปักไว้ในถุงเพาะชำที่เตรียมไว้
4.หมั่นรดน้ำ กระทั่งพริกไทยงอกรากและแตกยอด ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือน ก็จะได้ต้นพริกไทยที่พร้อมปลูก


ขั้นตอนการปลูกและดูแลพริกไทยบนต้นปาล์มน้ำมัน :
1.ขุดหลุมบริเวณโคนต้นปาล์มน้ำมัน ซึ่งให้มีระยะห่างจากโคนต้นปาล์มน้ำมัน ประมาณ 30 ซม.
2.ขุดหลุมเพื่อทำการปลูกพริกไทยประมาณ 4-5 หลุม ต่อ ปาล์มน้ำมัน 1 ต้น
3.ทำการรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก
4.จากนั้นให้นำกล้าพันธุ์พริกไทยลงปลูกในหลุมขุดไว้
5.แล้วนำยอดของต้นพริกไทยไปพันบริเวณลำต้นของปาล์มน้ำมัน เพื่อให้ต้นพริกไทยเกาะและเจริญเติบโตบนต้นปาล์มน้ำมัน
6.จากนั้นทำการใส่ปุ๋ยคอก และทำการรดน้ำวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น
7.ระยะเวลาประมาณ 3 ปี ก็จะสามารถเก็บพริกไทยจำหน่ายได้

**ระวังอย่าใช้ปุ๋ยเคมีเนื่องจากพริกไทยไม่ชอบพวกสารเคมีอาจจะส่งผลให้พริกไทยเฉาและตายได้**



ข้อดีของการปลูกพริกไทยเสริมบนต้นปาล์มน้ำมัน :
1.สามารถสร้างรายได้เสริมสำหรับเกษตรกรที่ปลูกปาล์มน้ำมัน
2.ราคาดี และสามารถจำหน่ายได้ทั้งแบบ พริกไทยสด และพริกไทยแห้ง
3.การดูแลง่ายและสะดวก


ขอขอบคุณข้อมูล : นายเฉลียว แดงสกล ม.17 ต.ท่าแซะ อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร


อ้างอิง : ศูนย์ทางด่วนข้อมูลทางการเกษตร*1677
สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกันจ.ชุมพร

ที่มา : http://www.rakbankerd.com/agriculture/page.php?id=1118&s=tblplant 

Saturday, November 17, 2012

โรคของพริกและการป้องกันกำจัด



โรคของพริกและการป้องกันกำจัด
ดร.นุชนารถ  จงเลขา

พริกมีหลายชนิด  แต่ที่จะพูดถึงวันนี้เป็นพริกยักษ์ที่คนไทยเรียกขานกันอยู่ แต่ชาวยุโรปจะเรียกว่า พริกกระดิ่ง (bell peper) หรือพริกหวาน (sweet peper) สำหรับอาการของโรคที่ปรากฎจะคล้ายกับอาการที่เกิดกับพริกชี้ฟ้า และบางโรคก็คล้ายกับอาการที่เกิดกับยาสูบด้วย  จึงอยากจะนำมาเสนอให้เข้าใจถึงลักษณะอาการของโรค และแนะนำวิธีการควบคุมโรค  เพื่อประโยชน์สำหรับเกษตรกรผู้ปลูกพริกและยาสูบโดยทั่วไป

โรคแอนแทรคโนส (anthracnose)  อาการจะเกิดได้ทั้งบริเวณผล ขั้วผล ใบ ก้านใบ โดยจะเป็นแผลสีน้ำตาล ที่แผลบนผลพริก  แผลจะลึกลงไปในผิวพืชและมีผงสีดำติดอยู่  สีดำที่เห็นเป็นซีตี้ (setae) ที่มีลักษณะคล้ายขนสีน้ำตาลเข้ม  อยู่ในโครงสร้างรูปจาน (acervulus) ที่บรรจุสปอร์ของเชื้อรา  คอเลทโททริคั่ม นั่นเอง  โรคนี้ถ้าเป็นกับพริกชี้ฟ้าจะทำให้เกิดแผลจนรอบผลพริก ทำให้สีของพริกเปลี่ยนจาก สีแดงเป็นสีปูนแห้ง  และผลพริกจะแห้งงอ เรียกลักษณะอาการเช่นนี้ว่าพริกกุ้งแห้ง  ถ้าเกิดกับก้านใบและก้านผลก็จะทำให้ใบร่วงผลร่วง การควบคุมโรคนี้ทำได้โดยใช้สารเคมีควบคุม  สารเคมีที่ใช้ได้ผลเป็นสารประเภทโปรปิเนบ (propineb)ซิเนบ (zineb)แมนโคเซ็บ (mancozeb) อย่างใดอย่างหนึ่งฉีดพ่นเพื่อป้องกัน  ถ้ามีการระบาดหนักให้ใช้สารประเภท บีโนมิล (benomyl) และ คาร์เบนดาซิม (carbendazim) ฉีดพ่นสบับกับสารที่กล่าวมาแล้ว

โรคของพริกที่จะกล่าวโรคที่สอง คือ โรคใบจุดแบคทีเรีย หรือแบคทีเรี่ยล สะเป้ค (bacterial speck) โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ในสกุลแซนโธโมแนส (Xanthomonas) ทำให้เกิดเป็นจุดรูปร่างไม่แน่นอน สีน้ำตาลปนเทา ขอบแผลสีน้ำตาลเข้ม กลางแผลมีจุดสีน้ำตาลหลายแผลจะต่อกันทำให้แผลมีขนาดใหญ่  แผลเกิดกระจายทั่วไปและลุกลามอย่างรวดเร็ว แรก ๆ แผลจะปรากฎเป็นอาการฉ่ำน้ำ แต่นาน ๆ เข้าแผลจะแห้งจนดูคล้ายเกิดจากเชื้อรา การควบคุมโรคนี้ โดยการใช้สารเคมี  เช่นใช้สารประกอบทองแดง เช่น คอปเปอร์ซับเฟต คอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ และพวกบอร์โดมิกซ์เจอร์ หรือจะใช้สารปฏิชีวนะผสมคอปเปอร์คลอไรด์ไฮดรอกไซด์  ชื่อการค้าของสารเหล่านี้ได้แก่ โคแมค คูปราวิต แคงเคอร์เอ็กซ์ โคแพค-อี คาซูแรน คาซูมิน และโคไซด์ เป็นต้น

โรคต่อไปจะพูดถึงโรคเหี่ยวที่พบเห็นเสมอ เกิดจากแบคทีเรียซูโดโมแนส (Pseudomonas solanacearum) ซึ่งสามารถทำลายมะเขือเทศ พริก ยาสูบ และมันฝรั่ง และพืชอีกหลายชนิด อาการเหี่ยวจะปรากฎให้เห็นในลักษณะที่ใบพืชยังเขียวอยู่แต่เหี่ยว ถ้าตัดบริเวณโคนต้นไปจุ่มน้ำดูจะพบเมือกแบคทีเรียไหลออกมา  โรคนี้ควบคุมยากจะต้องป้องกันโดยการเตรียมดินให้ดี  พื้นที่ที่เคยเป็นโรคนี้  ให้ขุดต้นเป็นโรคออกทั้งรากวางบนแปลงตากแดด  เมื่อแห้งให้เผาทำลาย  การปลูกพืชครั้งต่อไปต้องขุดดินตากแดดจัดไว้นาน ๆ ก่อนปลูกควรใส่ปุ๋ยมูลสัตว์ที่แห้งดีแล้วทุบละเอียดผสมดินรองก้นหลุม  หรือจะใช้ปุ๋ยหมักที่คุณภาพดีรองก้นหลุมก็ได้จะได้ช่วยลดการเกิดโรคนี้ได้  สำหรับการแก้ปัญหาเมื่อพบโรคนี้  ควรขุดต้นเป็นโรคออกใส่ถุงพลาสติก นำออกไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก ราดบริเวณที่เป็นโรคด้วยสารทีซีเอ็มทีซี (ชื่อการค้า บูซาน-30) หรือราดด้วยสารประเภททองแดง เช่น คอปเปอร์ซัลเฟต จะช่วยป้องกันการระบาดได้

โรคที่ร้ายแรงอีกโรคหนึ่งคือ โรคใบด่างเป็นวง หรือมักเรียกว่าใบจุดวงแหวน (ring spot) โดยการด่างเป็นวงสีเขียวอ่อน เป็นลวดลาย  ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส การผิดปกติ เช่น ใบหงิก ใบงอ ใบด่าง ใบเป็นคลื่น จะพบเสมอในพริก  ซึ่งอาจจะเกิดจากไร เพลี้ยไฟ และไวรัส  จึงต้องสังเกตให้ดี  โดยการใช้แว่นขยายตรวจดูศัตรูของพริกด้วย  ส่วนเชื้อไวรัสไม่มีสารเคมีชนิดใดที่รักษาโรคได้ ได้แต่ป้องกันการระบาด  โดยการทำลายพาหะของโรค และบำรุงพืชให้แข็งแรงเพื่อต้านทานโรค

โรคใบจุดตากบ (frog-eye spot)  จะพบประจำในพริกและยาสูบ จุดแผลจะกลม กลางแผลมีสีเทา ขอบแผลสีน้ำตาล แผลจะกระจายทั่วไป โรคนี้เกิดจากเชื้อเซอโคสะปอร่า (Cercospora) การควบคุมโรคนี้ใช้สารชนิดเดียวกับที่ใช้ควบคุมแอนแทรคโนสก็ได้  หรือจะใช้สารประเภทคลอโรธาโรนิล (chlorothalonil) ฉีดพ่นสม่ำเสมอขณะระบาด จะได้ผลดี

แสงแดดกล้าอาจจะทำให้ผิวของผลไหม้  ถ้าต้นพริกมีใบมาก  จะช่วยคลุมผลได้บ้าง  การปลูกในช่วงร้อนจัด  จึงควรปลูกในโรงเรือนที่มีหลังคากรองแสง จะช่วยลดความเสียหายลงได้

อาการขาดธาตุอาหารมักจะปรากฎเสมอ ๆ ในพืช  ในพริกก็เช่นกันพบการขาดธาตุไนโตรเจน อาการเหลืองจะเริ่มจากปลายใบเข้ามา  และเกิดกับใบแ เป็นอาการของการขาดธาตุไนโตรเจน  ถ้าทราบลักษณะการขาดธาตุแล้ว  การแก้ไขโดยให้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง เช่น ปุ๋ยทางใบสูตร 30-20-10 จะช่วยให้อาการด่างเหลืองหายไป

โรคที่พบเป็นบางพื้นที่คือโรคราแป้ง (powdery mildew) ซึ่งจะปรากฎผงสีขาว ๆ เกาะตามใบ และส่วนต่าง ๆ ของพริก สปอร์ และเส้นใยของราจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช ทำให้ใบเหลืองและร่วงหล่นในที่สุด  สารเคมีที่ใช้ได้ผลมีหลายชนิด เช่น สารประเภท กำมะถัน พวกไพราโซฟอส เบโนมิล ไตรดีมอร์บ และไตรโฟรีน เป็นต้น  ซึ่งชื่อการค้าได้แก่ อาฟูกาน เบนเลท คาลิกซิน และ ซาพรอล
ที่กล่าวมาแล้วเป็นโรคสำคัญ ๆ และพบเสมอ  ที่นำมาลงแม้จะเป็นโรคที่เกิดกับพริกยักษ์ทั้งหมด  แต่อาการของโรคที่เกิดกับพริกอื่น ๆ ก็จะเป็นไปในลักษณะเดียวกัน  จึงเท่ากับเป็นการอธิบายถึงโรคของพริกโดยทั่ว ๆ ไป  หวังว่าท่านผู้อ่านคงจะได้ประโยชน์บ้าง

คุณประโยชน์ของพริกหวาน

พริกหวาน ช่วยกระตุ้นทางการทำงานของกระเพาะอาหารทำให้ระบบการย่อยอาหารดีขั้น

รูปภาพพริกหวาน

พริกหวาน ชื่อ วิทยาศาสตร์ว่า  Capsicum annuum L. var. longum และมีชื่อสามัญว่า Banana pep per อยู่ในวงศ์  Solanaceae พริกหวานมีรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมถึงหกเหลี่ยม เนื้อหนามีหลายสีทั้งเขียว แดง เหลืองส้ม มีรสชาติหวานไม่เผ็ด สามารถรับประทานสดในสลัดหรือนำมาผัดกับผักชนิดต่างๆ เด็กและผู้ใหญ่สามารถรับประทานได้ ด้วยสีสันที่น่ารับประทานพริกหวานยังอุดมไปด้วยวิตามิน A, B1, B2และ C มีสารแคบไซซิน ช่วยยับยั้งอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือด โรคต้อกระจกและโรคมะเร็ง และยังมีเบตาแคโรทีนสูง เหล็ก และโพแทสเซียม ซึ่งพริกหวานสีเหลืองจะมีไวตามินมากกว่าพริกหวานสีส้มถึง 4 เท่า ในพริกสีเขียว 100 กรัมจะมีไวตามินซี 100 กรัมเช่นกัน
สรรพคุณ ของพริกหวาน ช่วยกระตุ้นทางการทำงานของกระเพาะอาหารทำให้ระบบการย่อยอาหารดีขั้น ช่วยเจริญอาหารบำรุงธาตุ ขับเหงื่อ ขับลม ขับเสมหะ แก้อาเจียน แก้หิด กลากเกลื้อน และสามารถลดความดันโลหิตได้ เพราะทำให้หลอดเลือดอ่อนตัวและช่วยให้ระบบการไหลเวียนของเลือดเป็นไปได้ดี
เมื่อเห็นสรรพคุณของพริกหวานแล้ว อย่าลืมใส่พริกหวานเป็นส่วนประกอบของอาหารในมื้อต่อไป 

ขอบคุณข้อมูลจาก : หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทยโดย พิทักษ์พงค์

วิธีปลูกพริก

วิธีปลูกพริก สั้นๆง่ายๆได้ใจความ
http://vegetweb.com/wp-content/download/p260.jpg


เพาะเมล็ดพริกหยอดในหลุมโดย ตรง  หลุมละ  3-5  เมล็ด  ซึ่งวิธีนี้นิยมปลูกในแปลงขนาดใหญ่  จุดอ่อนของการปลูกวิธีนี้ คือ  ต้นพริกอ่อนแอ อาจจะถูกมดและแมลงอื่นๆกัดกินใบ -เพาะเมล็ดพริกให้งอกก่อนแล้วนำไปปลูกในหลุม กลบด้วยดินบางๆ 

สำหรับวิธีการเพาะ คือ  นำเมล็ดพันธุ์ไปแช่ไว้ในน้ำ  จากนั้นนำผ้าชุบน้ำหมาดๆมาห่อทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน  เมล็ดก็จะงอกแล้วนำไปปลูก
-เพาะเมล็ดในแปลงเพาะก่อน  แปลงเพาะควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ปริมาณ 100 กรัม/ตารางเมตร  ขุดดินลึกประมาณ 5-8 นิ้ว  แนะควรใช้ฟูราดานในการเพาะด้วย หลังจากหว่านเมล็ดแล้วประมาณ 10 วัน  เมื่อต้นพริกมีอายุได้ 18 วัน  ให้รดด้วยน้ำผสมปุ๋ยแอมโมเนียซัลเฟต อัตราส่วน  1  กรัม/น้ำ  200  ซีซี.  แล้วรดน้ำตามทันที  หากเมล็ดไหนที่ยังไม่งอก ให้นำไปคลุกยาป้องกันกำจัดเชื้อรา ได้แก่  ออไธไซด์  เพื่อป้องกันโรคเร่าควรรดด้วยไดโฟลาแทน  80  หรือไดเทน  เอ็ม  45  .

ที่มา : เดลินิวส์

“ตามรอยความเผ็ด”

ร้าน “ซาดิสส์” เป็นร้านอาหารไก่ย่าง ส้มตำ กินแล้วหูแดงลุกเป็นไฟ เพราะมันเผ็ด สมกับชื่อร้านจริงๆ ด้วยรสชาติของ capsicin ซึ่งเป็นสารที่ให้ความเผ็ดในพริก (Chillies)
           ความเผ็ดคืออะไร

              วันนี้ 25 สิงหาคม 2549 มีโอกาสได้ไปกินข้าวเที่ยงกับเพื่อนร่วมงานที่ร้านซาดิสส์ซึ่งเป็นร้านอาหารไก่ย่าง ส้มตำ  ของชอบของชาวอิสาน พอไปถึงก็เริ่มสั่งเมนูเด็ดทันที คือ ตำลาวแซ่บๆ (อร่อย) 3 จาน ไก่ 2 ไม้ พออาหารมาถึงโต๊ะเท่านั้นแหละครับ ถึงได้รู้ว่าความแซ่บมันไม่ได้ปราณีใคร ต่างคนต่างหิวเริ่มซัดซะเต็มที่ พอเริ่มรู้สึกตัวเท่านั้นหละครับ หูแดงลุกเป็นไฟ เพราะมันเผ็ด สมกับชื่อร้านจริงๆ ด้วยรสชาติของ capsicin ซึ่งเป็นสารที่ให้ความเผ็ดในพริก (Chillies) จึงทำให้ผมนึกถึงอดีตเมื่อต้นปี 2549 ที่ผ่านมาทันที ครั้นเมื่อคราวที่ผมและทีมงานวิจัยได้ศึกษาช่องทางการตลาดพริกในจังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดศรีสะเกษ        
          พริกวันละ 200 กว่าตัน ต่อวันไปไหน พี่น้องชาว KM ทราบไหมครับว่าจังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดศรีสะเกษเป็นแหล่งผลิตพริกที่ใหญ่ที่สุดในเขตภาคอิสาน เพราะในช่วงของเดือนพฤศจิกายนมีนาคมของทุกปี และในปีนี้ผลผลิตพริกที่ปลูกโดยพี่น้องเกษตรกร และถูกรวบรวมโดยพ่อค้าคนกลาง แล้วถูกลำเลียงส่งไปขาย ที่จังหวัดขอนแก่น นครราชสีมา กรุงเทพ นครปฐม ที่เป็นพริกแดง และสำหรับพริกเขียวจะถูกลำเลียงส่งไปขายในเขตภาคใต้ของประเทศไทย และอีกส่วนหนึ่งถูกลำเลียงไปขายแถวประเทศมาเลเซีย 

 

           ลานกว้างของปั๊มน้ำมันคือจุดซื้อขายพริก  ความเอื้ออาทรที่เอื้อประโยชน์ซึ่งกันระหว่างพ่อค้าคนกลาง และเจ้าของปั๊มน้ำมัน กล่าวคือ พ่อค้ารวบรวมผลผลิตพริกรายใหญ่จะมารอผู้รวบรวมผลผลิตพริกรายย่อย ที่ปั๊มน้ำมันติดถนนสายหลัก และมีลานกว้าง หลังจากนั้นเวลาประมาณ 1-2 ทุ่ม พ่อค้ารวบรวมผลผลิตพริกรายย่อยก็จะมาส่งผลผลิตพริกเพื่อขายให้กับพ่อค้ารวบรวมรายใหญ่ ที่จุดนัดพบ รับเงินเสร็จพอจะกลับบ้าน ส่วนใหญ่ก็จะเติมน้ำมันไปด้วย จึงเป็นการเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกันเรียกได้ว่า Win-Win ทั้งคู่นะครับ           


                     ทำไมทั้งสองจังหวัดจังมีพริกขายในช่วงนี้ นี่คือการจัดการความรู้ของพี่น้องเกษตรกรที่มีการมาจากบรรพบุรุษ นั่นก็คือการเอาชนะธรรมชาติ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลผลิตพริกที่ดีมีคุณภาพ  กล่าวคือพี่น้องเกษตรกรทั้งสองจังหวัดนี้ จะมีการจัดการความรู้และได้มีการวางแผนการผลิตเพื่อให้ผลผลิตที่ออกมาไม่ให้ไปชนกับผลผลิตที่มาจากที่อื่น ซึ่งจะทำให้ได้ราคาที่สูง อีกทั้งในการจัดการความรู้สำหรับพี่น้องเกษตรเกษตรที่ไม่มีที่ดินที่อยู่ที่ดอนจะได้วางแผนการผลิต โดยทำการปรับระดับดินให้มีความสูงขึ้นมาเหนือระดับที่น้ำท่วมไม่ถึง เนื่องจากการที่จะได้ผลผลิตพริกออกมาในช่วงดังกล่าว เกษตรกรต้องปลูกในฤดูฝน ดังนั้นจึงต้องยกระดับดินให้สูงขึ้นป้องกันน้ำท่วมขังอันจะส่งผลเสียหายต่อผลผลิตได้????   แล้วท่านล่ะครับเผ็ดไหมๆ....
ขอบคุณครับ
อุทัย   อันพิมพ์
25 สิงหาคม 2549 

พริก พริก พริก ที่นี่มีแต่พริกทั้งนั้น

พริก พริก พริก ที่นี่มีแต่พริกทั้งนั้น 

พริก ที่เป็นพืชอาหารปรุงรส (เผ็ด) นั้นคนไทยเรารู้จักกันดีในเมนูอาหารคาวบนโต๊ะอาหาร บางคนถ้าขาดพริกเสียแล้ว กินอะไรก็ไม่อร่อย ไม่เจริญอาหาร ไม่มีรสชาติเอาเสียเลย ปีๆหนึ่งเราบริโภคพริกกันคิดคำนวณแล้วไม่ใช่น้อยเลย ทั้งที่กินสด หรือที่แปรรูปแล้วอย่าง พริกแห้ง พริกป่น ซ๊อสพริก น้ำพริกเผา เครื่องแกง และฯลฯ มีมากมายหลายรูปแบบให้เลือกกินเอาตามใจชอบ
ประเทศ ในแถบเอเชียนั้นบริโภคพริกกันเกือบทุกประเทศ มากบ้างน้อยบ้างขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมอาหารการกิน ในที่นี้จะชวนให้ไปดูคนจีนเขาบริโภคพริกกันอย่างไร โดยจะเน้นหนักถึงชนิดของพริกกับอาหารจานพริกกันเสียมากกว่า ดูว่ามีพริกสายพันธุ์ใหน รูปร่างอย่างไร ผิดแผกแตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน เข้าไปดูกันเลย ที่นี่เป็นศูนย์กลางพริกของประเทศจีนเลยทีเดียว เพราะเป็นเว็บไซท์ พริก ของประเทศจีนโดยเฉพาะ มีสารพัดพริกให้ได้ชมกัน (ไม่ใช่สารพัดพิษนะคร้บ)  ถึง 26 หน้าเลยทีเดียว เปิดเข้าไปดูได้เลยที่
http://www.lajiao.gov.cn  หน้าหลักของเว็บไซท์
ซึ่ง มีให้เลือกเอาเป็นภาษาจีน (ตัวย่อ) กับภาษาอังกฤษ แต่ คลิ๊กไม่แล้วไม่ทำงาน เพราะเขาไม่ได้จัดทำไว้ นี่คืออุปสรรค์ที่คนไทยเข้าไม่ถึงข้อมูลข่าวสารของประเทศจีน เป็นเอาว่าข้ามไปดูรูปกันดีกว่าที่หน้า
http://www.lajiao.gov.cn/news/pic_news.asp?sp=1&page=6
เป็นข่าวสารต่างๆของพริก ชนิดของพริก สายพันธุ์ การผลิต และเมนูอาหารที่ใช้พริกปรุง
มีให้เลือกทัศนาถึง 26 หน้า โดยกดเลือก ตัวหนังสือ 2 ตัวในวงเล็บปีกกา (ด้านล่าง) ที่สาม ไปเรื่อยๆ
ดูจบแล้วก็หาน้ำเย็นกลั้วปากแก้เผ็ดเอาเองก็แล้วกัน (อู๊ย เผ็ดจริงๆ)

พริกอวกาศ
พริกอวกาศ

พริกแม่ลูกดก
พริกแม่ลูกดก

พริกขี้หนู

ชื่อสามัญ :              Bird Chilli

ชื่อวิทยาศาสตร์    Capsicum frutescens Linn.

วงศ์ :                      SOLANACEAE
ชื่ออื่น ๆ :                พริกแด้, พริกแต้, พริกนก, พริกแจว, พริกน้ำเมี่ยง (เหนือ-พายัพ), พริก, พริกชี้ฟ้า,พริกขี้หนู (ภาคกลาง-เหนือ), ดีปลี (ใต้-ปัตตานี), ดีปลีขี้นก, พริกขี้นก, ใต้ (ภาคใต้), ลัวะเจีย (แต้จิ๋ว), มะระตี้ (สุรินทร์), ล่าเจียว (จีนกลาง), หมักเพ็ด (อีสาน)


ลักษณะทั่วไป :
ต้น :   เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นมีความสูงประมาณ 45-75 ซม.

ใบ :    เป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้ามกัน ลักษณะใบจะกลมรี ตรงปลายจะแหลม

ดอก : จะออกตรงง่ามใบเป็นกลุ่มประมาณ 1-3 ดอก เป็นสีขาว มีกลีบดอกประมาณ 5 กลีบ ส่วนเกสรตัวผู้จะมีอยู่ 5 อัน
จะขึ้นสลับกบกลีบดอก เกสรตัวเมียมี 1 อันและมีรังไข่ประมาณ 2-3 ห้อง

ผล :   ผลสุกจะเป็นสีแดง หรือแดงปนน้ำตาล ลักษณะผลมีผิวลื่นเป็นมัน ภายในผลนั้นจะกลวง และมีแกนกลาง รอบ ๆแกนจะมีเมล็ดเป็นสีเหลืองเกาะอยู่มากมาย และเมล็ดจะมีรสเผ็ด
การขยายพันธุ์ :
โดยการเพาะเมล็ด


สรรพคุณ :
ใช้ ปรุงรสอาหาร ช่วยเจริญอาหาร และรักษาอาการอาเจียน รักษาโรคหิด กลาก รักษาโรคบิด โดยการใช้พริกสด 1 เม็ด หรือมากกว่านั้นใช้กิน และอาการปวดบวมเนื่องจากความเย็นจัด โดยใช้ผงพริกแห้งทำเป็นขี้ผึ้ง หรือสารละลายแอลกอฮอล์ใช้ทา
อื่น ๆ พรรณไม้นี้เป็นพรรณไม้สวนครัวที่ขาดกันไม่ได้ เป็นพรรณไม้ที่ขึ้นง่าย แต่บำรุงรักษายาก เพราะใบอ่อนของพริกอร่อยทำให้แมลงต่าง ๆ ชอบกิน ผลแรกผลิใช้ผสมกับผักแกงเลียงช่วยชูรส ส่วนผลกลางแก่ใช้ใส่แกงคั่วส้ม จะได้อาหารที่มีรสเปรี้ยวอ่อน ๆ เพราะมีวิตามีซี และไส้พริกจะมีสารแคบไซซิน ที่ให้ความเผ็ดและมีกลิ่นฉุนเผ็ดร้อน
ป็นเครื่องปรุงอาหารช่วยชูรส ใส่น้ำพริก ยำ ทำเป็นน้ำปลาดองและยังเป็นยาช่วยกระตุ้นทำให้เจริญอาหาร บำรุงธาตุ หรือใช้ภายนอกเป็นยาทาถูนวดลดอาการไขข้ออักเสบ

คุณค่าทางอาหาร คุณค่าทางอาหารในส่วนที่รับประทานได้ 100 กรัม ประกอบด้วย

Cal Moist ure Protein Fat CHO Fibre Ash . Ca P Fe  A.I.U B1  B2 Niacin C

Unit % Gm. Gm. Gm. Gm. Gm mg. mg. mg.
mg. mg. mg. mg.
พริกขี้หนู 54 81.9 3.4 1.4 7.1 5.2 0.9 4 14 12 2417 0.29 0.11 1.5 44
ข้อมูลทางคลีนิค :
รักษาอาการบวม ฟกช้ำ ให้ใช้พริกขี้หนูที่แก่จัดเป็นสีแดงแล้วตากแห้งนำมาบดเป็นผงให้ละเอียดแล้วเทลงในวาสลินที่เคี่ยวจนเหลว กวนให้เข้ากัน แล้วนำไปเคี่ยวอีกจนได้กลิ่นพริก ใช้สำหรับทาถู รักษาอาการเคล็ด ถูกชน ฟกช้ำดำเขียว และอาการปวดตามข้อ  ให้ทาตรงบริเวณที่เป็นวันละครั้ง หรือสองวันต่อครั้ง

รักษาอาการปวดตามเอวและน่อง ให้ใช้ผงพริกขี้หนูและวาสลิน หรือผลพริก วาสลิน และแป้งหมี เติมเหล้าเหลืองจำนวนพอประมาณ แล้วคนให้เป็นครีม ก่อนที่จะใช้ ให้ทาลงบนกระดาษแก้วปิดบริเวณที่ปวด ใช้พลาสเตอร์ปิดโดยรอบ จะมีอาการทำให้เหงื่อออก การเคลื่อนไหวคล่องแคล่วขึ้น และรู้สึกหายปวด จากการตรวจสอบพบว่า ตามบริเวณที่พอกยาจะมีความรู้สึกร้อน และการไหลเวียนของโลหิต เพิ่มขึ้น
ข้อมูลทางเภสัชวิทยา :
สารสกัดจากพริก ใช้ทาลงบนผิวหนังจะทำให้หลอดเลือด ตามบริเวณนั้นขยายตัว และการไหลเวียนของเลือดเพิ่มขึ้น ถ้าใช้มากเกินไปอาจจะทำให้ระคายเคืองได้

ฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียและฆ่าแมลง แคปซายซินจะมีผลยับยั้งเชื้อ Bacillus cereus และเชื้อ Bacillus subtilis แต่ไม่มีผลต่อเชื้อ Bacillus aureus และเชื้อ Bacillus coli นอกจากนี้สารที่สกัดจากพริก โดยวิธีการต้มด้วยน้ำ จะมีฤทธิ์ในการฆ่าแมลง

ฤทธิ์ต่อระบบทางเดินอาหาร แคปซายซิน ทำให้เจริญอาหาร และกินอาหารได้มากขึ้น พริกสามารถช่วยกระตุ้นทำให้การเคลื่อนไหว   ของกระเพาะอาหารสุนัขเพิ่มขึ้นและน้ำสกัดที่ได้จากพริก จะช่วยลดการบีบตัวของลำไส้เล็กส่วนปลาย ileum   ของหนูตะเภาที่เกิดจากอะเซทิลโมลีนและฮีสตามีนได้ส่วนแคปซายซิน จะเพิ่มการบีบตัว ของลำไส้เล็กส่วนปลาย ileum ของหนูตะเภา     แต่ถ้าให้แคปซายซินซ้ำอีกครั้งในขนาดเท่า ๆ กัน จะมีผลน้อยมากหรือไม่มีผลเลย

ผลต่อระบบไหลเวียนโลหิต แคปซายซิน ที่สกัดจากพริก สามารถกระตุ้นหัวใจห้องบนของหนูตะเภา แต่ เมื่อฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำของแมวและสุนัข จะทำให้ความดันโลหิต และหัวใจเต้นช้า หายใจขัด และอาการพวกนี้จะหายไป   เมื่อเราตัดเส้นประสาทเวกัสออก (Vagotomy) ส่วนแคปซายซิน จะเพิ่มความดันโลหิตในแมว ที่ถูกตัดหัวออก (decapitated cat) ถ้าฉีดเข้าในหลอดเลือดดำของแมวที่ถูกวางยาสลบ จะทำให้ความดันโลหิตในปอดสูงขึ้น    แต่เมื่อฉีดเข้าบริเวณหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจโดยตรง จะทำให้หลอดเลือดนั้นหดตัว และฤทธิ์ของแคปซายซินต่อหัวใจ   ห้องบนของหนูตะเภานั้นจะเพิ่มทั้งความเร็ว และความแรงในการเต้น

ฤทธิ์ อื่น ๆ หลังจากกินอาหารที่ใช้พริกขี้หนูแก่จัดสีแดงเป็นเครื่องปรุงแต่งนานประมาณ 3 สัปดาห์ จะทำให้สารกลุ่มคอรืติโซน ในพลาสมาเพิ่มขึ้น และปริมาณที่ขับออกทางปัสสาวะก็จะเพิ่มขึ้น ส่วนสารที่สกัดได้จากพริก ถ้าฉีดเข้าช่องท้องของหนูถีบจักร จะมีฤทธิ์กดประสาท ทำให้เดินเซ เล็กน้อย และชักตายได้ เมื่อฉีดเข้าหลอดเลือดจะมีฤทธิ์กระตุ้นมดลูกของหนูขาว และมีฤทธิ์กระตุ้นปลายประสาทรับความรู้สึกทั่วไป
ความลับของพริกขี้หนู
แก้ปวดหัว ปวดหัวเนื่องมาจากไข้หวัด หรือตััวร้อน ใช้ใบพริกขี้ หนูสดๆ ตำกับดินสอพองปิดขมับ
แก้เจ็บคอเสียงแหบใช้ น้ำต้มหรือยาชงพริกขี้หนูกลัวคอแก้เจ็บคอและเสียงแหบได้โดยใช้พริกขี้หนู ป่น๑หยิบมือ เติมน้ำเดือดลงไป๑ แก้ว ทิ้งไว้พออุ่นใช้น้ำกลัวคอ
ช่วยขับลม  แก้อาหารไม่ย่อย เจริญอาหาร โดยกินพริกขี้หนูสวน รักษากระเพาะที่ไม่มีกำลังย่อยอาหาร
แก้ปลาดุกยักใช้พริกขี้หนูสดเขียวหรือแดงก็ได้ ขยี้ตรงที่ปลาดุก แทงจะหายปวด ขยี้แล้วจะรู้สึกเย็น(ธรรมดาพริกขี้หนูร้อน) ไม่บวม   ไม่ฟกช้ำด้วย
แก้เท้าแตกใช้พริกขี้หนูทั้ง ๕ ปูนขาว สื่งละพอควร เอาไปต้ม เอาน้ำมาแช่เท้าที่แตก ถ้าไม่หายเอาต้นสลัดได รากหนอนตากยาก  ใส่ลงไปด้วย
แก้บวม  ใบพริกขี้หนู บดผสมนำ้มะนาว พอกบริเวณที่บวม
รักษาแผลสดและแผลเปื่อย  ใช้ใบพริกขี้หนู ตำพอกรักษาแผล    สดและแผลเปื่อย(อย่าใช้พริกขี้หนูปิดแผลมากเกินไปเพราะจะทำให้ร้อน
ใบ้ใบเป็นอาหาร  ใบพริกขี้หนูมีคุณค่าทางอาหารสูงมาก เพราะมี ธาตุ แคลเซี่ยม ฟอสฟอรัส ไวาตามินเอ และบีอยู่มาก บำรุงกระดูก  บำรุง ประสาท
แก้พิษตะขาบและแมลงป่องกัด  ใช้พริกขี้หนููแห้ง ตำผงละลาย น้ำมาะนาว ทาแผลตะขาบกัด แมลงป่องต่อย หายเจ็บปวดดีนัก
มดคันไฟกัด   ใช้ใบหรือดอกพริกขี้หนูก้ได้ ถูบริเวณถูกกัด หายแล