Saturday, February 2, 2013

การป้องกันกำจัดโรครากปมพริก

การป้องกันกำจัดโรครากปมพริก 

ร่วม ในปี 2550 พบการแพร่ระบาดของโรครากปมพริก ในพื้นที่การปลูกพริกของจังหวัดอุบลราชธานีและพื้นที่ใกล้เคียงกว่า 1,629 ไร่ เป็นสาเหตุทำให้พริกมีผลผลิตและคุณภาพลดลงตั้งแต่ 50-100% คิดเป็นมูลค่าความเสียหาย 50-80 ล้านบาท ทำให้มีเกษตรกรทำเรื่องร้องเรียนมายังสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่4 (สวพ.4) เพื่อช่วยแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน




ดร.สรศักดิ์ มณีขาว ผู้เชี่ยวชาญการผลิตพืชภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่4 (สวพ.4) กรมวิชาการเกษตร จ.อุบลราชธานี ได้ให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิดจังหวัดอุบลราชธานี ไว้ดังนี้ "ในปี 2550 พบการแพร่ระบาดของโรครากปมพริก ในพื้นที่ปลูกพริกของจังหวัดอุบลราชธานีและพื้นที่ใกล้เคียงกว่า 1,629 ไร่ เป็นสาเหตุทำให้พริกมีผลผลิตและคุณภาพลดลงตั้งแต่ 50-100% คิดเป็นมูลค่าความเสียหาย 50-80 ล้านบาท ทำให้มีเกษตรกรทำเรื่องร้องเรียนมายังสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่4 (สวพ.4) เพื่อช่วยแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน"

ทั้งนี้ ทีมนักวิจัยได้ทำงานแบบบูรณาการร่วมกับนักวิชาการโรคพืชเฉพาะด้านไส้เดือนฝอยและศัตรูพืชอื่นๆที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งประสานงานกับกรมส่งเสริมการเกษตรในท้องที่เพื่อทำการทดสอบเทคโนโลยีการจัดการศัตรูพืช ในปี 2550-2551โดยมีกิจกรรมการทดสอบดังนี้

1.ใช้ความร้อนฆ่าไส้เดือนฝอยในดิน สำหรับเพาะกล้าพริกมีผลในการฆ่าตัวอ่อนของไส้เดือนฝอยที่อยู่ในดินได้

2.การใช้สารอะบาเม็กติน ซึ่งเป็นสารชนิดถูกตัวตายก่อนปลูกพืชนั้นควบคุมการเกิดปมได้เท่ากับ 50-70%

3.การนำพืช 4 ชนิดมาปลูกสลับหมุนเวียนกับพริก เพื่อตัดวงจรชีวิตของไส้เดือนฝอยรากปมหรือลดจำนวนประชากรไส้เดือนฝอยในดินเป็นอีกหนึ่งวิธีป้องกันกำจัดโรคโดยวิธีเขตกรรม พืช 4 ชนิด ได้แก่ งา ถั่วลิสง ดาวเรืองและปอเทือง แสดงให้เห็นว่าการใช้พืชปลูกสลับกับการใช้ความร้อนก่อนเพาะเมล็ดช่วยลดระดับการเกิดโรครากปมได้ โดยปอเทืองเป็นพืชที่ปลูกสลับก่อนปลูกพริกได้ดีที่สุด ช่วยลดการเกิดปมในพริกที่ปลูกตามหลังปอเทืองได้ 100%


----------- ^ ^ ---------

ที่มา :

ศูนย์ทางด่วนข้อมูลทางการเกษตร*1677
สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ.อุบลราชธานี

0 comments:

Post a Comment