Thursday, October 25, 2012

พริกชี้ฟ้า

 
พริก เป็นพืชที่มีการปลูกโดยทั่วไปในทุกภูมิภาคของประเทศใน ระหว่างปี 2531-2539 มีพื้นที่ปลูกเฉลี่ย 382,245 ไร่ ผลผลิตสดรวมเฉลี่ยระหว่างปี เท่ากับ 418,895 ตัน โดยมีผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่เท่ากับ 1,128 กิโลกรัม ผลผลิตส่วนใหญ่ใช้ในแง่บริโภคในครัวเรือน และเพื่อการอุตสาหกรรม พบว่ามีการส่งออกเพียงเล็กน้อยประมาณ 100,00ตัน/ปี (ผลผลิตสด) คิดเป็นมูลค่าประมาณ 100 ล้านบาท และมีการนำเข้าพริกแห้งจากต่างประเทศปีละประมาณ 3,000-5,000 ตัน (ผลผลิตแห้ง) มูลค่า 30-50 ล้านบาท

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
 
พริกชี้ฟ้า มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Capsicum frutescens var. longum Bail. อยู่ในตระกูล Solanaceae เป็นไม้พุ่ม อายุยืน
ใบ เป็นใบเดี่ยวรูปไข่ มีสีเขียวเข้ม ออกจากลำต้นแบบสลับ
ดอก เป็นดอกเดียวหรือเกิดรวมเป็นช่อ มีกลีบดอกและกลีบเลี้ยงอย่างละ 5 กลีบ กลีบเลี้ยงมีสีเขียว กลีบดอกมีสีขาว หรือขาวอมเขียว
ผล มีเมล็ดมากเรียงติดแน่นบนรก สีขาว ผลมักจะห้อยลง ผลยาวใหญ่ ผลอ่อนมีสีเขียวเป็นมันเมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีแดง
พันธุ์พริกชี้ฟ้า มีพันธุ์พื้นเมือง พันธุ์คายีน ลองสลิม (Cayenne Long slim) และแพสชั่น ไฮบริด ( Passion Hybird )
3 ฟุต
เป็นพืชอายุหลายปี
ใบ มีรูปร่างคล้ายหัวใจ แต่ช่วงปลายใบค่อนข้างยาว ออกจากลำต้นแบบสลับ
ดอก เป็นดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบ มีกลีบเลี้ยงสีเขียว 5 กลีบ กลีบดอกสีขาวหรือม่วง 5 กลีบ เป็นพืชที่ผสมตัวเองได้ ดอกมีขนาดค่อนข้างใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลางดอกประมาณ
1 นิ้ว
พริกหยวก  มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Capsicum annuum var. longum Bail. อยู่ในตระกูล Solanaceae เป็นไม้พุ่มสูงประมาณ 1 – 2 ฟุต แตกกิ่งก้านมาก เป็นพืชฤดูเดียว
ใบ เป็นใบเดี่ยวมีรูปร่างคล้ายหัวใจ แต่ค่อนข้างยาว ปลายใบแหลม บางครั้งอาจดูเหมือนรูปหอก
ดอก เป็นดอกเดี่ยว ออกตรงซอกใบ มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ 5 กลีบ ดอกมีสีขาวหรือขาวอมม่วง
ผล เป็นผลชนิด เบอร์รี่ มีรูปร่างยาว ปลายเรียว ผลจะห้อยลง มีสีเหลืองอมเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นผลสีส้มหรือสีแดง มีกลิ่นฉุน
พันธุ์ ที่นิยมปลูกได้แก่ พันธุ์พื้นเมือง และพันธุ์ลูกผสมต่างๆ
พริกขี้หนู  มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Capsicum frutescens L. อยู่ในตระกูล Solanaceae เป็นไม้พุ่มตั้งตรง สูงประมาณ 1 – 4 ฟุต
ใบ เป็นใบเดี่ยวออกจากลำต้นแบบสลับ รูปร่างใบเป็นรูปไข่ ส่วนกว้างสุดอยู่ทางฐานใบและเรียวไปหาปลาย ผิวใบเรียบ ไม่มีขน
ดอก เป็นดอกเดี่ยว มีกลีบเลี้ยงสีเขียว 5 กลีบดอกสีขาว 5 กลีบ มีจำนวนเกสรตัวผู้ 5 อัน
ผล เป็นผลชนิด เบอร์รี่ แต่มีลักษณะยาวคล้ายฝัก ผลจะตั้งชี้ขึ้น รูปร่างและขนาดของผลเปลี่ยนแปลงไปตามพันธุ์ ส่วนมากผลมีขนาดเล็กแต่มีรสเผ็ดมาก สภาพอากาศและอุณหภูมิในแต่ละท้องถิ่น จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความเผ็ดร้อนของพริกได้
ลักษณะทั่วไปของพืช
พริกเป็นผักตระกูล Solanaceae ส่วนใหญ่ปลูกได้ดีในเขตร้อนสภาพที่เหมาะกับการปลูก คือ ดินร่วนปนทราย มีความเป็นกรด-ด่างที่เหมาะสมในช่วง 5.5-6.5
พื้นที่ปลูกที่สำคัญ
จังหวัดอุบลราชธานี ,ศรีสะเกษ, ขอนแก่น, เลย, กาฬสินธุ์, นครสวรรค์, อุตรดิตถ์, เชียงใหม่, ลพบุรี, พระนครศรีอยุธยา, กาญจนบุรี, นครปฐม, สุราษฏร์ธานี, นครศรีธรรมราช, ตราด

วิธีการปลูก
ปลูกโดยการเพาะกล้าอัตรา 50 กรัม/ไร่ เมื่ออายุ 30 วัน ย้ายลงแปลงปลูกที่เตรียมใช้ยกแปลงกว้างประมาณ
1.20 เมตร ปลูกเป็นแถวคู่ระยะระหว่างแถวห่างกัน 80 ซม.หลุมละ 1 ต้น
ระยะปลูก 80×80 ซม.
จำนวนต้น/ไร่ 2,500-3,000 ต้น

การดูแลรักษา
การใส่ปุ๋ย
1.ปุ๋ยคอกรองพื้นอัตรา 800-
1,000 กก. / ไร่
2.ปุ๋ยเคมีใช้สูตร 15-15-15 อัตรา 50-
100 กก. / ไร่ แบ่งใส่ครั้งละ 25 กก.
ทุกๆ 15-30 วัน
การให้น้ำ
1.อาศัยน้ำฝนในสภาพไร่ ควรเลือกช่วงปลูกประมาณเดือนพฤษภาคม
2.ในเขตชลประทานให้น้ำแบบพ่นฝอยทุกๆ 3-5 วันครั้ง
การปฏิบัติอื่นๆ

คลุมฟางเพื่อป้องกันการระเหยของน้ำในดิน

การเก็บเกี่ยว
พริกขี้หนู จะให้ผลผลิตเก็บเกี่ยวได้เมื่อต้นมีอายุประมาณ 60 – 90 วัน นับจากวันเริ่มงอก ในระยะแรกจะให้ผลผลิตน้อย แต่จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้นาน 7 – 10 เดือน โดยเก็บผลแก่ที่มีขนาดโตเต็มที่ ควรเก็บเกี่ยวทุกๆ 7 วัน เก็บทีละผล โดยใช้เล็บจิกตรงรอยต่อระหว่างก้านผลกับกิ่ง
พริกชี้ฟ้า จะเริ่มเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุประมาณ
70 วัน จะทยอยให้ผลผลิตไปเรื่อยๆ ควรทำการเก็บเกี่ยวทุกอาทิตย์
พริกยักษ์ จะเริ่มเก็บเกี่ยวเมื่อผลมีขนาดโตเต็มที่ และยังมีสีเขียวอยู่ ซึ่งโดยปกติก็จะมีอายุประมาณ
60 – 80 วันภายหลังจากเริ่มปลูก
พริกหยวก เก็บเกี่ยวโดยใช้มือเด็ดในขณะที่ผลโตเต็มที่และยังมีสีเขียวอมเหลือง หรือมีอายุประมาณ 90 – 120 วัน นับจากวันเริ่มงอก

 

ปฏิทินการปฏิบัติดูแลรักษา
กิจกรรม/เดือน
1
2
3
4
5
6
7
1.เตรียมพันธุ์หว่านกล้า







2.เตรียมแปลงกล้า







3.ดูแลแปลงกล้า







4.เตรียมแปลงปลูก







5.ย้ายกล้าปลูก







6.ให้น้ำ







7.ใส่ปุ๋ยคอก







8.ใส่ปุ๋ยเคมี







9.ป้องกันศัตรูพืช







10.เก็บเกี่ยว










โรคและแมลง
โรค
โรคกุ้งแห้ง กำจัดโดยคัดเลือกพันธุ์ที่ปราศจากโรค ใช้สารกำจัดราประเภทไดเท็นเอ็ม 45 อัตราพ่นทุกๆ 7-10 วัน
แมลง
เพลี้ยไฟ , เพลี้ย อ่อน ทำให้พริกใบหงิกงอลักษณะใบม้วนผิดปกติ ระบาดในช่วงแห้งแล้ง การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมีกำจัดแมลงในกลุ่มคาบาเมท เช่น เซพวิน ฟอส ฉีดพ่นทุก 5-7 วันในช่วงที่ระบาด
ศัตรูอื่นๆ
ไรขาว ทำให้ใบหงิก ระบาดในช่วงที่ฝนตกชุก การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมีกำจัดไรโดยเฉพาะ
เช่น เดลเทน โอไมด์ เป็นต้น

ปัญหาอุปสรรค
1. ปัญหาความรู้ความเข้าใจในด้านศัตรูพืชซึ่งทำให้การป้องกันกำจัดแมลง
2. ค่าแรงงานสูงโดยเฉพาะค่าแรงงานระยะในการเก็บเกี่ยว

แนวทางการส่งเสริม
1. ปรับปรุงพันธุ์พริกให้ตรงกับความต้องการของตลาด โดยภาครัฐควรบริการพันธุ์ดีให้แก่เกษตรกร
2.ให้ความรู้แก่เกษตรกรที่ปลูกพริกในการวินิจฉัยศัตรูพืชชนิดต่างๆ รวมทั้งการใช้สารเคมีป้องกันกำจัด ศัตรูพืชอย่างถูกต้อง

การปลูกพริก

การปลูกพริก

การเพาะปลูก การปลูกพริก




ขั้นตอนการเตรียมดิน ในการปลูกนับว่าเป็นเรื่องสำคัญมากในการปลูกพริกเนื่องจาก ถ้าเกษตรกรไม่สามารถเตรียมดินให้ดีตั้งแต่เริ่มต้นแล้วจะมีปัญหามากมายหรือ อาจจะทำให้ขาดทุนได้ เกษตรกรจึงไม่ควรมอง ข้ามในเรื่องนี้

ขั้นตอนการไถและปรับสภาพดิน
ควรมีการไถเพื่อปรับสภาพดินและทำการตากดินไว้ประมาณ 5-7 วัน เพื่อทำการฆ่าเชื้อรา
การ รองพื้นโดยปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยมูลสัตว์) หลังจากตากดินไว้ 5-7 วันแล้ว ก่อนที่จะทำการไถในรอบที่ 2ให้ใช้ สาร ที-เอส-3000ผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ในอัตรา สารที-เอส-3000 15 ก.ก (1กระสอบ) ผสมปุ๋ยอินทรีย์ 100 ก.ก หว่านในอัตรา 50 -100 ก.ก ต่อไร่ เพื่อปรับสภาพดินและความเป็นกรดเป็นด่างของดิน
การรองพื้นโดยปุ๋ยเคมี หลังจากตากดิน 5-7 วันแล้ว ให้ใช้ สารที-เอส-3000 ผสมปุ๋ยสูตร 15-15-15 ในอัตรา สารที-เอส-3000 15 ก.ก (1กระสอบ) ปุ๋ยสูตร 15-15-15 จำนวน 50 ก.ก (1กระสอบ) หว่านอัตรา 25 ก.ก ต่อไร่ สาร ที-เอส-3000 จะช่วยกระตุ้นระบบรากให้มีมากขึ้นและช่วยให้ต้านทานโรคและแมลงได้ดีเนื่อง จากสาร ที-เอส-3000จะมี ซิลิก้าซึ่งจะทำให้ลดต้นของพืชแข็งแรงพร้อมด้วยธาตุอาหารอื่นๆซึ่งจะทำให้ แข็งแรงต้านทานโรคและได้รับธาตุอาหารที่ครบถ้วนหลังจากนั้นให้ทำการคราดกลบ และรดน้ำเพื่อเตรียมการปลูกต่อไป


ขั้นตอนการปลูก
หลัง จากเพาะเลี้ยงต้นกล้าให้ได้อายุ 2-3 สัปดาห์ ก่อนย้ายลงแปลงจริงให้ตัดยอดจนเหลื่อแต่ใบแก่ พร้อมกับรากแก้วให้เหลือเพียง 1-1 นิ้วครึ่ง เมื่อพริกโตขึ้นจะไม่สูงชะลูด แต่จะแตกพุ่มกลมมีกิ่งแขนงมากส่งผลให้มีดอกและผลมากด้วยส่วนรากจะเกิดรากฝอย ใหม่จำนวนมากแผ่กระจายรอบทรงพุ่มสามารถหาอาหารไปเลี้ยงลำต้นได้ง่าย

การเตรียมต้นกล้าก่อนปลูก
หลัง จากนำต้นกล้าขึ้นมาจากแปลงเพาะเตรียมที่จะลงแปลงปลูก ให้นำต้นกล้าที่เตรียมไว้ลงแช่น้ำที่ผสมที-เอส-3000หรือไฮแม็ก อย่างไดอย่างหนึ่ง
-ที-เอส-3000 ประมาณ 3 ขีด ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อให้ต้นกล้าได้รับ ซิลิก้า ซึ่งจะทำให้ลำต้นแข็งแรง กระตุ้นการแตกรากดี ทำให้ต้นพริกฟื้นตัวได้เร็ว
- ไฮ-แม็ก ประมาณ 30-50 ซีซี (2-3 ฝา) เพื่อให้ต้นกล้าได้รับ ธาตุอาหาร ซึ่งจะทำให้ลำต้นแข็งแรง กระตุ้นการแตกรากดี ทำให้ต้นพริกฟื้นตัวได้เร็ว การปลูกไม่ควรปลูกลงลึกเกินไปเพราะจะทำให้พริกโตช้า

การใส่ปุ๋ย
หลังจากปลูกได้ประมาณ 20-25 วันหรือให้สังเกตดูต้นพริกมีความพร้อมที่ต้องการปุ๋ยให้ใส่ปุ๋ยเพื่อเร่งการเจริญเติบโตดังนี้
กรณี ใส่ปุ๋ยอินทรีย์(ปุ๋ยมูลสัตว์)ถ้าต้องการใสปุ๋ยอินทรีย์ใช้สารที-เอส-3000 ชนิดผง 15 กก.ผสมปุ๋ยอินทรีย์ในอัตราปุ๋ยอินทรีย์ 200-300 กก. หว่านในอัตรา 1 ไร่ ที-เอส-3000 มีสารอาหารที่ครบถ้วนช่วยให้พืชได้รับธาตุอาหารที่ครบถ้วน ช่วยลดปัญหาการเกิดเชื้อรา ลดปัญหาการเกิดโรครากเน่า โคนเน่า จะช่วยปรับสภาพความเป็นกรด-ด่าง ของปุ๋ยอินทรีย์ให้มีค่าเป็นกลางเพื่อไม่ให้เป็นอันตรายต่อพืช

กรณี ใส่ปุ๋ยเคมี สูตรเร่งการเจริญเติบโตให้ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ,18-12-6,16-20-0 ผสมด้วย สาร ที-เอส-3000 ในอัตรา สาร ที-เอส-3000 15 ก.ก (1กระสอบ) ปุ๋ยเคมี จำนวน 50 ก.ก (1กระสอบ) หว่านประมาณ 15 -20 ก.ก ต่อไร่ การใส่ปุ๋ยควรใส่ประมาณ 10-15 วันต่อครั้ง
สูตรเร่งการออกดอก ให้ใช้ปุ๋ยสูตร 13-13-21 ผสมด้วย สาร ที-เอส-3000 ในอัตรา สาร ที-เอส-3000 15 ก.ก (1กระสอบ) ปุ๋ยเคมี จำนวน 50 ก.ก (1กระสอบ) หว่านประมาณ 15 -20 ก.ก ต่อไร่ การใส่ปุ๋ยควรใส่ประมาณ 10-15 วันต่อครั้ง

วิธีการให้ปุ๋ยและการฉีดพ่นธาตุอาหารทางใบ
หลัง จากปลูกได้ประมาณ 20-25 วันหรือให้สังเกตดูต้นพริกมีความพร้อมที่ต้องการปุ๋ย ให้ใส่ปุ๋ยสูตร15-15-15 ,18-12-6,16-20-0 เลือกใช้สูตรไดสูตรหนึ่ง ผสมด้วย สาร ที-เอส-3000 ในอัตรา สาร ที-เอส-3000 15 ก.ก (1กระสอบ) ปุ๋ยเคมี จำนวน 50 ก.ก (1กระสอบ) หว่านประมาณ 15 -20 ก.ก ต่อไร่ การใส่ปุ๋ยควรใส่ประมาณ 10-15 วันต่อครั้ง หลังจากหว่านปุ๋ยเรียบร้อยแล้วประมาณ 2-3 วัน ฉีดพ่นทางใบดังนี้

เร่งการเจริญเติบโตทางใบ
ไฮ-แม็ก 20-30 ซีซี + ซุปเปอร์-บีม 20-30 ซีซี + ซุปเปอร์-บีม 3 พลังครึ่งช้อนชา ต่อน้ำ 20 ลิตร
(ตัวเสริม โปรแท็ป 1-2 ขีด)
ประโยชน์ เร่งการเจริญเติบโต แตกกิ่ง แตกทรงพุ่ม สร้างลำต้นให้แข็งแรง ใบใหญ่ ใบหนา สีเข้ม ฉีดพ่นทุก 7-15 วัน ในเวลาเช้าหรือตอนเย็น ในเวลาที่อากาศไม่ร้อนฉีดพ่นไปจนกว่าพริกมีความพร้อมที่จะออกอกให้เปลี่ยนมา ใช้สูตรเร่งดอกดังนี้

สูตรเร่งดอก-บำรุงดอก
ซุปเปอร์-แบม30-40 ซีซี + เอ็ม-เร็ตต้า 3-4 ช้อนแกง
ประโยชน์ สะสมสมแป้ง เร่งการออกดอก บำรุงดอก ลดการหลุดร่วงของดอก ฉีดพ่น 7-15 วัน /ครั้ง

เมื่อ พริกมีความพร้อมที่จะออกดอก ปุ๋ยทางดินให้เปลี่ยนมาใช้สูตร 13-13-21 ผสมด้วย สาร ที-เอส-3000 ในอัตรา สาร ที-เอส-3000 15 ก.ก (1กระสอบ) ปุ๋ยเคมี จำนวน 50 ก.ก (1กระสอบ) หว่านประมาณ 15 -20 ก.ก ต่อไร่ การใส่ปุ๋ยควรใส่ประมาณ 10-15 วันต่อครั้ง หลังจากหว่านปุ๋ยได้ประมาณ 1-2 วัน ให้ฉีดพ่นด้วย ซุปเปอร์-แบม30-40 ซีซี + เอ็ม-เร็ตต้า 3-4 ช้อนแกง (ตัวเสริม ไฮ-แม็ก 20-30 ซีซี หรือ โปรแท็ป 1-2 ขีด) เพื่อเร่งการออกดอก ทำการรดน้ำใส่ปุ๋ยบำรุงรักษาดูแลไปเรื่อยๆหลังจากเก็บผลผลิตแล้วให้ทำการ บำรุงต้นให้พร้อมที่จะออกดอกรอบต่อไปโดยการฉีดพ่นทางใบ 1 ครั้ง ด้วย ไฮ-แม็ก 20-30 ซีซี + ซุปเปอร์-บีม 20-30 ซีซี + ซุปเปอร์-บีม 3 พลังครึ่งช้อนชา ต่อน้ำ 20 ลิตร (ตัวเสริม โปรแท็ป 1-2 ขีด) เพื่อบำรุงต้นให้มีความสมบูรณ์พร้อมที่จะออกดอกในรอบต่อไปหลังจากบำรุงต้น เรียบร้อยแล้วให้ฉีดพ่นด้วยสูตรเร่งการออกดอก1-2 ครั้ง ต่อไปหลังจากทำการเก็บผลผลิตแล้วก็ให้ทำการฉีดพ่นเหมือนครั้งแรกสลับกันไป เรื่อย

ประโยชน์ของ การปลูกพริก
1.พริก ช่วยลดการอุดตันของเส้นเลือด หรือการเสียชีวิตอันเนื่องมาจากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองอุดตัน การบริโภคพริกเป็นประจำจะช่วยลดอัตราความเสี่ยงจากการอุดตันของเส้นเลือด นับเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคหัวใจล้มเหลว เนื่องจากพริกช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้นและช่วยลดความดัน เพราะว่าในพริกมีสารจำพวกเบตาแคโรทีนและวิตามินซี ซึ่งช่วยเสริมสร้างผนังหลอดเลือดให้แข็งแรงเพิ่มการยืดตัวของผนังหลอดเลือด ทำให้ปรับตัวเข้ากับแรงดันระดับต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น

2. พริกช่วยลดปริมาณสารคอเลสเตอรอล สารแคปไซซินช่วย ป้องกันมิให้ตับสร้างคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL-Low density lipoprotein) ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมให้มีการสร้างคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL-high density lipoprotein) มากขึ้น ทำให้ปริมาณของไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือดต่ำลง เป็นผลดีต่อสุขภาพของผู้บริโภค

3.พริกช่วยลดความเสี่ยงของการเกิด โรคมะเร็ง เนื่องจาก พริกเป็นพืชผักที่มีวิตามินซีสูง การบริโภคอาหารที่มีวิตามินซีมากๆ จะช่วยปกป้องการเกิดโรคมะเร็งได้ วิตามินซียับยั้งการสร้างไนโตรซามีนซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในระบบทางเดินอาหาร วิตามินซีช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนซึ่งเป็นส่วนประกอบของกระดูกอ่อน รวมถึงเป็นส่วนประกอบของผิวหนัง กล้ามเนื้อและปอด คอลลาเจนเป็นโปรตีนที่สามารถหยุดกแพร่กระจายของเซลล์เนื้อร้ายได้ นอกจากนี้ วิตามินซียังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) คือสามารถยุติหรือขัดขวางบทบาทของอนุมูลอิสระ (free radicals) ที่จะก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ของเซลล์จนเป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด สารเบตาแคโรทีนในพริกช่วยลดอัตราการเสี่ยงของโรคมะเร็งในปอด และในช่องปาก

คนที่รับประทานผักที่มีสารเบตาแคโรทีนน้อย จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งมากกว่าคนที่รับประทานผักที่มีเบตาแคโรที นสูงถึง 7 เท่า คุณสมบัติของสารเบตาแคโรทีนจะช่วยลดอัตราการกลายพันธุ์ของเซลล์และทำลาย เซลล์มะเร็ง สำหรับพริกบางชนิดที่มีสีม่วงจะมีสารพวกแอนโทไซยานิน ซึ่งสารนี้มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ คือ สามารถทำลายอนุมูลอิสระได้เช่นกัน


4.พริกช่วยบรรเทาอาการเจ็บ ปวด เช่น ลดอาการปวดฟัน บรรเทาอาการเจ็บคอ และการอักเสบของผิวหนัง เป็นต้น ในปัจจุบันมีการใช้สารแคปไซซินเป็นส่วนประกอบของขี้ผึ้ง ใช้บรรเทาอาการปวดอันเนื่องมาจากผดผื่นคันและอาการผื่นแดงบริเวณผิวหนัง รวมทั้งอาการปวดที่เกิดจากเส้นเอ็น โรคเกาต์ หรือโรคข้อต่ออักเสบ เป็นต้น นอกจากนี้ผลการทดลองใหม่ๆยังบ่งชี้ว่าสารแคปไซซินช่วยลดอาการปวดศีรษะและไม เกรนลงได้

5.พริกช่วยเสริมสร้างสุขภาพและอารมณ์ดี เนื่องจากสารแคปไซซินมีส่วนในการส่งสัญญาณให้ต่อมใต้สมองสร้างสาร เอนดอร์ฟินขึ้น
สารเอนดอร์ฟินเป็นเปปไทด์ขนาดเล็ก (โปรตีนสายสั้นๆ) มีคุณสมบัติคล้ายมอร์ฟีน คือ บรรเทาอาการเจ็บปวด ในขณะเดียวกันก็สร้างอารมณ์ให้ดีขึ้น ยิ่งรับประทานเข้าไปมากเท่าใด ร่างกายก็จะสร้างเอนดอร์ฟินขึ้นมามากขึ้นเท่านั้น ปกติร่างกายของคนเราจะสร้างสารเอนดอร์ฟินขึ้นภายหลังการออกกำลังกาย ดังนั้นการออกกำลังกายแม้จะทำให้ร่างกายเมื่อยล้า แต่ผู้ออกลังกายจะรู้สึกสดชื่นแจ่มใส ถ้าต้องการบรรเทาความเผ็ดของอาหารในปากควรดื่มแอลกอฮอล์ หรือรับประทานอาหารที่มีไขมันเป็นส่วนประกอบมากกว่าการดื่มน้ำ เพราะการดื่มน้ำมีผลเพียงช่วยบรรเทาอาการแสบร้อนได้เท่านั้น แต่ความเผ็ดก็ยังไม่ได้ลดลง เนื่องจากว่า น้ำ ละลายสารดังกล่าวได้ไม่ดีนั่นเอง