Thursday, October 25, 2012

พริกชี้ฟ้า

 
พริก เป็นพืชที่มีการปลูกโดยทั่วไปในทุกภูมิภาคของประเทศใน ระหว่างปี 2531-2539 มีพื้นที่ปลูกเฉลี่ย 382,245 ไร่ ผลผลิตสดรวมเฉลี่ยระหว่างปี เท่ากับ 418,895 ตัน โดยมีผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่เท่ากับ 1,128 กิโลกรัม ผลผลิตส่วนใหญ่ใช้ในแง่บริโภคในครัวเรือน และเพื่อการอุตสาหกรรม พบว่ามีการส่งออกเพียงเล็กน้อยประมาณ 100,00ตัน/ปี (ผลผลิตสด) คิดเป็นมูลค่าประมาณ 100 ล้านบาท และมีการนำเข้าพริกแห้งจากต่างประเทศปีละประมาณ 3,000-5,000 ตัน (ผลผลิตแห้ง) มูลค่า 30-50 ล้านบาท


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
 
พริกชี้ฟ้า มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Capsicum frutescens var. longum Bail. อยู่ในตระกูล Solanaceae เป็นไม้พุ่ม อายุยืน
ใบ เป็นใบเดี่ยวรูปไข่ มีสีเขียวเข้ม ออกจากลำต้นแบบสลับ
ดอก เป็นดอกเดียวหรือเกิดรวมเป็นช่อ มีกลีบดอกและกลีบเลี้ยงอย่างละ 5 กลีบ กลีบเลี้ยงมีสีเขียว กลีบดอกมีสีขาว หรือขาวอมเขียว
ผล มีเมล็ดมากเรียงติดแน่นบนรก สีขาว ผลมักจะห้อยลง ผลยาวใหญ่ ผลอ่อนมีสีเขียวเป็นมันเมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีแดง
พันธุ์พริกชี้ฟ้า มีพันธุ์พื้นเมือง พันธุ์คายีน ลองสลิม (Cayenne Long slim) และแพสชั่น ไฮบริด ( Passion Hybird )
3 ฟุต
เป็นพืชอายุหลายปี
ใบ มีรูปร่างคล้ายหัวใจ แต่ช่วงปลายใบค่อนข้างยาว ออกจากลำต้นแบบสลับ
ดอก เป็นดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบ มีกลีบเลี้ยงสีเขียว 5 กลีบ กลีบดอกสีขาวหรือม่วง 5 กลีบ เป็นพืชที่ผสมตัวเองได้ ดอกมีขนาดค่อนข้างใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลางดอกประมาณ
1 นิ้ว
พริกหยวก  มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Capsicum annuum var. longum Bail. อยู่ในตระกูล Solanaceae เป็นไม้พุ่มสูงประมาณ 1 – 2 ฟุต แตกกิ่งก้านมาก เป็นพืชฤดูเดียว
ใบ เป็นใบเดี่ยวมีรูปร่างคล้ายหัวใจ แต่ค่อนข้างยาว ปลายใบแหลม บางครั้งอาจดูเหมือนรูปหอก
ดอก เป็นดอกเดี่ยว ออกตรงซอกใบ มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ 5 กลีบ ดอกมีสีขาวหรือขาวอมม่วง
ผล เป็นผลชนิด เบอร์รี่ มีรูปร่างยาว ปลายเรียว ผลจะห้อยลง มีสีเหลืองอมเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นผลสีส้มหรือสีแดง มีกลิ่นฉุน
พันธุ์ ที่นิยมปลูกได้แก่ พันธุ์พื้นเมือง และพันธุ์ลูกผสมต่างๆ
พริกขี้หนู  มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Capsicum frutescens L. อยู่ในตระกูล Solanaceae เป็นไม้พุ่มตั้งตรง สูงประมาณ 1 – 4 ฟุต
ใบ เป็นใบเดี่ยวออกจากลำต้นแบบสลับ รูปร่างใบเป็นรูปไข่ ส่วนกว้างสุดอยู่ทางฐานใบและเรียวไปหาปลาย ผิวใบเรียบ ไม่มีขน
ดอก เป็นดอกเดี่ยว มีกลีบเลี้ยงสีเขียว 5 กลีบดอกสีขาว 5 กลีบ มีจำนวนเกสรตัวผู้ 5 อัน
ผล เป็นผลชนิด เบอร์รี่ แต่มีลักษณะยาวคล้ายฝัก ผลจะตั้งชี้ขึ้น รูปร่างและขนาดของผลเปลี่ยนแปลงไปตามพันธุ์ ส่วนมากผลมีขนาดเล็กแต่มีรสเผ็ดมาก สภาพอากาศและอุณหภูมิในแต่ละท้องถิ่น จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความเผ็ดร้อนของพริกได้
ลักษณะทั่วไปของพืช
พริกเป็นผักตระกูล Solanaceae ส่วนใหญ่ปลูกได้ดีในเขตร้อนสภาพที่เหมาะกับการปลูก คือ ดินร่วนปนทราย มีความเป็นกรด-ด่างที่เหมาะสมในช่วง 5.5-6.5
พื้นที่ปลูกที่สำคัญ
จังหวัดอุบลราชธานี ,ศรีสะเกษ, ขอนแก่น, เลย, กาฬสินธุ์, นครสวรรค์, อุตรดิตถ์, เชียงใหม่, ลพบุรี, พระนครศรีอยุธยา, กาญจนบุรี, นครปฐม, สุราษฏร์ธานี, นครศรีธรรมราช, ตราด

วิธีการปลูก
ปลูกโดยการเพาะกล้าอัตรา 50 กรัม/ไร่ เมื่ออายุ 30 วัน ย้ายลงแปลงปลูกที่เตรียมใช้ยกแปลงกว้างประมาณ
1.20 เมตร ปลูกเป็นแถวคู่ระยะระหว่างแถวห่างกัน 80 ซม.หลุมละ 1 ต้น
ระยะปลูก 80×80 ซม.
จำนวนต้น/ไร่ 2,500-3,000 ต้น

การดูแลรักษา
การใส่ปุ๋ย
1.ปุ๋ยคอกรองพื้นอัตรา 800-
1,000 กก. / ไร่
2.ปุ๋ยเคมีใช้สูตร 15-15-15 อัตรา 50-
100 กก. / ไร่ แบ่งใส่ครั้งละ 25 กก.
ทุกๆ 15-30 วัน
การให้น้ำ
1.อาศัยน้ำฝนในสภาพไร่ ควรเลือกช่วงปลูกประมาณเดือนพฤษภาคม
2.ในเขตชลประทานให้น้ำแบบพ่นฝอยทุกๆ 3-5 วันครั้ง
การปฏิบัติอื่นๆ

คลุมฟางเพื่อป้องกันการระเหยของน้ำในดิน

การเก็บเกี่ยว
พริกขี้หนู จะให้ผลผลิตเก็บเกี่ยวได้เมื่อต้นมีอายุประมาณ 60 – 90 วัน นับจากวันเริ่มงอก ในระยะแรกจะให้ผลผลิตน้อย แต่จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้นาน 7 – 10 เดือน โดยเก็บผลแก่ที่มีขนาดโตเต็มที่ ควรเก็บเกี่ยวทุกๆ 7 วัน เก็บทีละผล โดยใช้เล็บจิกตรงรอยต่อระหว่างก้านผลกับกิ่ง
พริกชี้ฟ้า จะเริ่มเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุประมาณ
70 วัน จะทยอยให้ผลผลิตไปเรื่อยๆ ควรทำการเก็บเกี่ยวทุกอาทิตย์
พริกยักษ์ จะเริ่มเก็บเกี่ยวเมื่อผลมีขนาดโตเต็มที่ และยังมีสีเขียวอยู่ ซึ่งโดยปกติก็จะมีอายุประมาณ
60 – 80 วันภายหลังจากเริ่มปลูก
พริกหยวก เก็บเกี่ยวโดยใช้มือเด็ดในขณะที่ผลโตเต็มที่และยังมีสีเขียวอมเหลือง หรือมีอายุประมาณ 90 – 120 วัน นับจากวันเริ่มงอก

 

ปฏิทินการปฏิบัติดูแลรักษา
กิจกรรม/เดือน
1
2
3
4
5
6
7
1.เตรียมพันธุ์หว่านกล้า







2.เตรียมแปลงกล้า







3.ดูแลแปลงกล้า







4.เตรียมแปลงปลูก







5.ย้ายกล้าปลูก







6.ให้น้ำ







7.ใส่ปุ๋ยคอก







8.ใส่ปุ๋ยเคมี







9.ป้องกันศัตรูพืช







10.เก็บเกี่ยว










โรคและแมลง
โรค
โรคกุ้งแห้ง กำจัดโดยคัดเลือกพันธุ์ที่ปราศจากโรค ใช้สารกำจัดราประเภทไดเท็นเอ็ม 45 อัตราพ่นทุกๆ 7-10 วัน
แมลง
เพลี้ยไฟ , เพลี้ย อ่อน ทำให้พริกใบหงิกงอลักษณะใบม้วนผิดปกติ ระบาดในช่วงแห้งแล้ง การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมีกำจัดแมลงในกลุ่มคาบาเมท เช่น เซพวิน ฟอส ฉีดพ่นทุก 5-7 วันในช่วงที่ระบาด
ศัตรูอื่นๆ
ไรขาว ทำให้ใบหงิก ระบาดในช่วงที่ฝนตกชุก การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมีกำจัดไรโดยเฉพาะ
เช่น เดลเทน โอไมด์ เป็นต้น

ปัญหาอุปสรรค
1. ปัญหาความรู้ความเข้าใจในด้านศัตรูพืชซึ่งทำให้การป้องกันกำจัดแมลง
2. ค่าแรงงานสูงโดยเฉพาะค่าแรงงานระยะในการเก็บเกี่ยว

แนวทางการส่งเสริม
1. ปรับปรุงพันธุ์พริกให้ตรงกับความต้องการของตลาด โดยภาครัฐควรบริการพันธุ์ดีให้แก่เกษตรกร
2.ให้ความรู้แก่เกษตรกรที่ปลูกพริกในการวินิจฉัยศัตรูพืชชนิดต่างๆ รวมทั้งการใช้สารเคมีป้องกันกำจัด ศัตรูพืชอย่างถูกต้อง

0 comments:

Post a Comment