Saturday, February 2, 2013

การปลูกพริกเพื่อการค้า

การปลูกพริกเพื่อการค้า

พริกเป็นพืชผักที่มีความสำคัญในการประกอบอาหารประจำวัน สำหรับคนไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากคนไทยนิยมรับประทานอาหารที่มีรสชาติค่อนข้างเผ็ด จึงนิยมปลูกพริกเพื่อบริโภคในครัวเรือนและนอกจากนี้ยังมีการปลูกพริกเพื่อการค้าในรูปพริกสด ผลิตภัณฑ์แปรรูปเครื่องปรุงแต่งรส เช่น พริกแห้ง พริกป่น น้ำพริกเผา น้ำพริกแกง และซอลพริก เป็นต้น พริกที่ปลูกกันมากในปัจจุบันนี้สามารถแบ่งตามขนาดของผลพริก ได้ 2 ชนิด ดังนี้
1. การเตรียมดินปลูกพริก

ควรขุดหรือไถดินให้ลึกประมาณ 15 ซม. ตากดิน 5-7 วัน ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกที่สลายตัวแล้ว ประมาณ 20 กก. ต่อเนื้อที่ 5 ตารางเมตร พรวนย่อยผิวหน้าดินให้ละเอียด เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินแปลงเพาะควรใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 400 – 500 กรัม พรวนกลบลงในดิน รอบแปลงเพาะควรใช้สารเคมี เช่น ออลดรินโรยเพื่อป้องกันมด แมลง เข้าไปทำลายเมล็ดพันธุ์ที่เริ่มงอก

2. การเตรียมเมล็ดพันธุ์พริก

ควรเลือกใช้พันธุ์พริกที่ตรงตามความต้องการของตลาดมีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ก่อนนำเมล็ดพันธุ์ไปหว่าน คัดเมล็ดพันธุ์ที่ไม่สมบูรณ์ออกโดยนำเมล็ดพันธุ์แช่น้ำสะอาดเมล็ดพันธุ์ที่เสียจะลอยน้ำแล้วคัดออก นำเมล็ดพันธุ์ดีคลุกสารเคมีไดเทนเอม 45 อัตราส่วน 1 ช้อนแกงต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กก. หรือนำไปแช่น้ำอุ่นที่อุณหภูมิประมาณ 50 องศาเซลเซียส เป็นเวลานานประมาณ 30 นาที ก่อนนำไปหยอดหรือหว่านในแปลงเพาะกล้า

3. การเพาะเมล็ดพริก

นำเมล็ดพันธุ์หว่านให้กระจายทั่วทั้งแปลงเพาะ หรือโรยเมล็ดเป็นแถวลงไปในร่องลึก 0.6 – 1 ซม. ห่างกันแถวละประมาณ 10 ซม. กลบด้วยปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วหรือดินผสมละเอียดรดน้ำให้ชุ่มเสมอ คลุมด้วยฟางแห้งหรือหญ้าแห้งบางๆ เมื่อกล้าเริ่มงอกมีใบจริงอายุประมาณ 12 – 15 วัน ถอนแยกต้นที่เป็นโรคอ่อนแอ ไม่สมบูรณ์ หรือต้นที่ขึ้นเบียดกันแน่นเกินไปทิ้ง ให้มีระยะห่างกันพอสมควร และควรให้ปุ๋ยเสริมทางใบเพื่อให้ต้นกล้าเจริญเติบโตและแข็งแรง เมื่อต้นกล้าอายุ 30 – 40 วัน ก็สามารถย้ายลงปลูกในแปลงใหญ่ได้

4. การย้ายกล้าปลูกพริก

ก่อนย้ายกล้าควรรดน้ำเพื่อให้ต้นกล้าแข็งตัว ดินร่วน และง่ายต่อการถอนต้นกล้า การย้ายกล้าอาจจะย้ายจากแปลงเพาะลงในถุงเพาะชำก่อน เมื่อกล้ามีใบจริง 2 ใบ ระยะเวลาการชำในถุงประมาณ 15 – 20 วัน จะทำให้กล้าแข็งแรงสมบูรณ์ สม่ำเสมอกัน แล้วจึงย้ายปลูกในแปลงปลูก สำหรับการย้ายกล้าปลูกในแปลงปลูกควรย้ายกล้าในเวลาบ่ายถึงเย็น ขณะที่แสงแดดไม่ร้อนจัด หลังจากปลูกรดน้ำต้นกล้าที่ปลูกใหม่ให้ชุ่ม ให้ใช้ฟางแห้งหรือหญ้าแห้งคลุมดินเพื่อช่วยรักษาความชุ่มชื้นในดิน จะทำให้ต้นกล้าตั้งตัวได้เร็วขึ้น

5. การเตรียมดินปลูกพริก

ต้องพิจารณาเลือกพื้นที่ที่มีการระบายน้ำได้ดี การกำหนดแถวปลูกให้กำหนดแถวคู่ห่างกัน 1.20 ม. และให้ระยะระหว่างแถวห่างกัน 0.50 ม. ระยะระหว่างต้น 0.50 X 0.50 ม. เมื่อเตรียมแปลงปลูกแล้วให้ใส่ปุ๋ยคอกในอัตราไร่ละ 1,200 – 3,000 กก. ทำการคลุกปุ๋ยคอกให้เข้ากับดินแล้วใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ในอัตรา 50 กก. ต่อไร่ และใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดแมลงชนิดดูดซึม คือ คาร์โบฟูราน เช่น ฟูราดาน คูราแทร์ โรยลงไปในหลุมประมาณ ? ช้อนชา และในสภาพดินที่เป็นกรดจัดควรใช้ปูนขาวในอัตรา 200 – 400 กก.ต่อไร่

6. การปฏิบัติดูแลรักษาพริก

1. การให้น้ำพริก - พริกเป็นพืชที่ต้องการน้ำอย่างเพียงพอ และสม่ำเสมอในช่วงแรกของการเจริญเติบโต ดินควรมีความชุ่มชื้นพอดีอย่าให้เปียกแฉะเกินไปจะทำให้ต้นพริกเหี่ยวตายได้ ในช่วงเก็บผลผลิตควรลดการให้น้ำเพื่อจะทำให้คุณภาพผลผลิตดี สีของผลสวย

2. การกำจัดวัชพืช - ในระยะที่ต้นพริกยังเล็กควรมีการกำจัดวัชพืชให้บ่อยครั้ง หากวัชพืชคลุมต้นพริกช่วงระยะการเจริญเติบโต จะทำให้แคระแกร็นคุณภาพผลผลิตไม่ดี การกำจัดวัชพืชน้อยครั้งยังมีผลทำให้ดินที่มีผิวหน้าแข็งหรือเหนียวจับกันเป็นแผ่น น้ำซึมผ่านได้ยากให้มีการถ่ายเทอากาศและระบายน้ำดี

3. การใส่ปุ๋ยพริก - พริกเป็นพืชที่มีอายุการเก็บผลค่อนข้างยาวนาน ปุ๋ยที่ใช้ควรเป็นปุ๋ยที่มีธาตุอาหารครบ เช่น ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 13-13-21 ในอัตรา 50-100 กก.ต่อไร่ เพื่อเป็นการช่วยเสริมการเจริญเติบโต นอกจากนี้ควรใส่ปุ๋ยน้ำทางใบโดยทำการฉีดพ่นทุกครั้งหลังการเก็บเกี่ยว การใช้ปุ๋ยเคมีจะได้ผลต่อพืชสูงสุดขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินกับปริมาณการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ควบคู่กันไปด้วย

การใส่ปุ๋ยควรแบ่งใส่ 2 ครั้ง ใส่ครั้งแรกปริมาณครึ่งหนึ่งก่อนปลูกเป็นปุ๋ยรองพื้นพรวนกลบลงในดิน โรยปุ๋ยไนโตรเจนใส่ข้างต้นพริก เมื่ออายุ 10 -14 วัน หลังจากย้ายกล้า ใส่ครั้งที่สองปริมาณอีกครึ่งหนึ่งที่เลหือใส่โรยข้างแล้วแต่งหน้าด้วยปุ๋ยไนโตรเจนพรวนกลบลงในดิน

8. การเก็บเมล็ดพันธุ์พริก

การเก็บเมล็ดพันธุ์พริกถูกวิธีจะทำให้มีพันธุ์พริกที่ดี ติดผลดก ผลผลิตสูง มีความต้านทานต่อโรคและแมลง คุณภาพดีเป็นที่ต้องการของตลาดไว้สำหรับปลูกในฤดูกาลต่อไป ซึ่งเกษตรกรสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ได้ด้วยตนเอง ดังนี้

1. เลือกจากต้นที่มีลำต้นแข็งแรง สมบูรณ์ เหนียวไม่หักง่าย

2. เลือกจากต้นที่ให้ผลดก และขนาดผลใหญ่สมบูรณ์

3. เลือกจากต้นที่ปราศจากโรค และทนทานต่อโรคและแมลง

4. เลือกจากต้นที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นได้ดี

5. เลือกจากผลแก่สีแดงสด ในช่วงระยะเก็บ 7 วันต่อครั้ง จะได้เมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์

9. การคัดเมล็ดพันธุ์พริก

เมื่อคัดเลือกผลผลิตพริกได้ตามที่ต้องการแล้ว ให้นำไปบดหรือโขลกหยาบๆ จากนั้น นำพริกทั้งกากแช่ในน้ำเกลือแกง ในอัตราส่วนผสม คือ เกลือ 2 ช้อนต่อน้ำ 1 ลิตร หลังจากนั้นช้อนกากและเมล็ดลีบที่ลอยน้ำออกทิ้งไป ส่วนเมล็ดที่ดีให้นำไปผึ่งบนตะแกรงในล่อนหรือไม้ไผ่สาน ไม่ควรตากบนภาชนะโลหะเพราะจะทำให้เมล็ดพันธุ์ร้อนจัดเกินไป ระยะเวลาที่เหมาะสมที่แดดไม่ร้อนจัดควรเป็นตอนเช้าหรือบ่ายวันละ 2 – 3 ชั่วโมงโดยตาก 2 – 3 แดด จากนั้นเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ในภาชนะที่แห้ง ปราศจากความชื้นแล้วปิดฝาให้สนิท

10. การเก็บพริกทำพริกแห้ง

ควรเลือกเก็บพริกที่แก่จัดสีแดงสดตลอดทั้งผล ปราศจากโรคแมลง เข้าทำลายแล้วรีบนำไปทำให้แห้งโดยเร็วจะทำให้ได้พริกแห้งที่มีสีสวยและคุณภาพดี

- การทำพริกแห้งให้มีสีสวยคุณภาพดี มีหลายวิธีดังนี้

1. พริกใหญ่ ได้แก่ พริกชี้ฟ้า พริกมัน พริกเหลือง พริกหยวก พริกยักษ์

2. พริกเล็กหรือพริกขี้หนู ได้แก่ พริกจินดา พริกหัวเรือ พริกห้วยสีทน พริกจินดายอดสน พริกจินดาลาดหญ้า พริกขี้หนูสวน พริกเดือยไก่ พริกปากปวน

***พริกเป็นพืชในเขตร้อนหรือกึ่งร้อนที่ทนความแห้งแล้งได้ดีพอควร และสามารถปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ดินที่เหมาะสมที่สุดคือ ดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำดี ไม่มีน้ำท่วมขังหรือชื้นแฉะ เพราะจะทำให้รากเน่าและตายได้

อายุการปลูก : ตั้งแต่ย้ายกล้าจนถึงเก็บเกี่ยว

- พริกชี้ฟ้า พริกมัน พริกเหลือง อายุประมาณ 70 – 90 วัน

- พริกเล็กหรือพริกขี้หนู อายุประมาณ 60 - 90 วัน

- พริกยักษ์ อายุประมาณ 60 – 80 วัน

ฤดูปลูก :

ปลูกได้ตลอดปี แต่ปลูกได้ผลดีที่สุดระหว่างเดือน ตุลาคม - กุมภาพันธ์ เป็นช่วงที่เก็บผลผลิตในฤดูแล้ง ทำให้สะดวกในการตากแห้ง และช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพริกชี้ฟ้า พริกขี้หนู 24 – 29 องศาเซลเซียล

1. การตากแดด คือการนำพริกที่คัดเลือกแล้วนำมาตากแดดโดยตรง แผ่พริกบางๆ บนเสื่อ หรือพื้นบานซีเมนต์ที่สะอาด โดยตากแดดทิ้งไว้ 5 – 7 แดด

2. การอบด้วยไอร้อน คือการนำพริกเข้าอบด้วยไอร้อนในเตาอบโดยวางพริกบนตระแกรง แล้ววางตะแกรงเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ วิธีนี้เหมาะสำหรับเกษตรกรที่ปลูกพริกเป็นจำนวนมาก และการทำพริกแห้งในช่วงฤดูฝน

3. การลวกน้ำร้อน คือ การนำพริกไปลวกน้ำร้อนก่อน โดยลวกนาน 15 นาที แล้วนำไปตากแดดประมาณ 5 แดด วิธีนี้จะทำให้สีของพริกแห้งสวย และไม่ขาวด่าง

4. การอบพริกด้วยโรงอบพลังแสงอาทิตย์ เป็นวิธีที่ทำให้ได้พริกที่มีคุณภาพดี สีสวย ก้านพริกแห้งสีทองไม่ดำ สะอาดไม่มีฝุ่นจับอบได้ครั้งละ 400 กก. ใช้เวลาอบประมาณ 3 วัน

5. ในกรณีที่เก็บพริกแก่จัดแต่ไม่แดงตลอดทั้งผลให้นำพริกใส่รวมกันในเข่งหรือกระสอบปุ๋ยบ่มไว้ในที่ร่มประมาณ 2 คืน เพื่อทำให้พริกสุกสม่ำเสมอกัน หลังจากนั้นทำให้แห้งได้ตามกรรมวิธีในข้อ 1 – 4

ภาพประกอบโดย : Maminyada
---------------------------------- ^ ^ ------------------------------
ที่มา :
กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

0 comments:

Post a Comment