Saturday, February 2, 2013

เพิ่มผลผลิตพริกขี้หนูด้วยดินแดง

 เพิ่มผลผลิตพริกขี้หนูด้วยดินแดง 

คุณอุไรวรรณ เลี่ยมทอง เกษตรกรชาวจันทบุรีผู้มีประสบการณ์การทำสวนและการเพาะปลูกพืชผัก ได้ผลสำเร็จในการเพาะชำกล้าพืช โดยเฉพาะพริกขี้หนูสวน พริกชี้ฟ้า ฯลฯ ที่เน้นคุณภาพของดินที่มีแร่ธาตุอาหารมา โดยเฉพาะ “ดินแดง” ดินบริสุทธิ์ ในเขต อ.ท่าใหญ่ จ.จันทบุรี ทำให้การเพาะกล้าพริกประสบความสำเร็จ ต้นพริกแข็งแรง เติบโตได้คุณภาพ และที่สำคัญได้ผลผลิตเกินขาด


วิธีการทำ/การเตรียมอุปกรณ์

++ อุปกรณ์ ++

1.ดินแดง (ดินบริสุทธิ์ คุณภาพดี แร่ธาตุครบถ้วน ของ อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี)

2.ถุงดำเพาะชำ ขนาด 2 ?6 (โดยจะตัดส่วนเกินทิ้ง วัดจากปากถุงลงมา 2-3 ซม.)

3.ภาชนะสำหรับเพาะชำ

4.เมล็ดพันธุ์พริกแห้ง ที่ได้รับการเลือกให้เป็นเมล็ดพันธุ์ดี

วิธีการเลือกเมล็ดพันธุ์พริก

1.เก็บพริกแก่จากต้นพริกที่สมบูรณ์

2.สังเกตต้นพริกที่สมบูรณ์ดังนี้ ใบพริกงามไม่หงิกงอ ยอดไม่เสีย ไม่มีการเน่าปลายยอด

3.นำพริกแก่ที่เก็บ มาแช่น้ำ 2 วัน

4.นำขึ้นจากน้ำ นำมาบด หรือตำเบา ๆ เพื่อให้เปลือกหลุดออก นำเฉพาะเม็ดแท้ๆ เพื่อเป็นเมล็ดพันธุ์ เท่านั้น

5.นำเมล็ดพันธุ์มาตากให้แห้ง 1 วัน (ตากลมในที่ร่มเท่านั้น)

วิธีการทำ

1.นำดินแดงใส่ในภาชนะเพาะชำ ตามต้องการ

2.หว่านเมล็ดพริก ให้ทั่วพอประมาณ

3.โปรยดินกลบบาง ๆ

4.พรมน้ำวันละครั้ง
** หมายเหตุ **

ระยะเวลา 1 สัปดาห์ ต้นกล้าจะโผล่พ้นดินให้เห็น ควรทิ้งระยะให้มีการเจริญเติบโต จนสังเกตเห็นใบเลี้ยงใบที่ 3-4 จึงนำกล้ามาแยกลงในถุงเพาะชำ (สีดำขนาด2 ?6 )จำนวน 1 ต้น ต่อ 1 ถุง เพื่อรอการจำหน่าย สร้างรายได้ในราคา ต้นละ 3-5 บาท

ที่มา :

ศูนย์ทางด่วนข้อมูลทางการเกษตร*1677
สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ.จันทบุรี

--------- ^ ^ --------

แหล่งอ้างอิง :
อุไรวรรณ เลี่ยมทอง 36 หมู่ 7 ต. ท่าช้าง อ.เมือง จ.จันทบุรี.สัมภาษณ์,5 ตุลาคม 2552


การป้องกันกำจัดโรครากปมพริก

การป้องกันกำจัดโรครากปมพริก 

ร่วม ในปี 2550 พบการแพร่ระบาดของโรครากปมพริก ในพื้นที่การปลูกพริกของจังหวัดอุบลราชธานีและพื้นที่ใกล้เคียงกว่า 1,629 ไร่ เป็นสาเหตุทำให้พริกมีผลผลิตและคุณภาพลดลงตั้งแต่ 50-100% คิดเป็นมูลค่าความเสียหาย 50-80 ล้านบาท ทำให้มีเกษตรกรทำเรื่องร้องเรียนมายังสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่4 (สวพ.4) เพื่อช่วยแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน




ดร.สรศักดิ์ มณีขาว ผู้เชี่ยวชาญการผลิตพืชภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่4 (สวพ.4) กรมวิชาการเกษตร จ.อุบลราชธานี ได้ให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิดจังหวัดอุบลราชธานี ไว้ดังนี้ "ในปี 2550 พบการแพร่ระบาดของโรครากปมพริก ในพื้นที่ปลูกพริกของจังหวัดอุบลราชธานีและพื้นที่ใกล้เคียงกว่า 1,629 ไร่ เป็นสาเหตุทำให้พริกมีผลผลิตและคุณภาพลดลงตั้งแต่ 50-100% คิดเป็นมูลค่าความเสียหาย 50-80 ล้านบาท ทำให้มีเกษตรกรทำเรื่องร้องเรียนมายังสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่4 (สวพ.4) เพื่อช่วยแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน"

ทั้งนี้ ทีมนักวิจัยได้ทำงานแบบบูรณาการร่วมกับนักวิชาการโรคพืชเฉพาะด้านไส้เดือนฝอยและศัตรูพืชอื่นๆที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งประสานงานกับกรมส่งเสริมการเกษตรในท้องที่เพื่อทำการทดสอบเทคโนโลยีการจัดการศัตรูพืช ในปี 2550-2551โดยมีกิจกรรมการทดสอบดังนี้

1.ใช้ความร้อนฆ่าไส้เดือนฝอยในดิน สำหรับเพาะกล้าพริกมีผลในการฆ่าตัวอ่อนของไส้เดือนฝอยที่อยู่ในดินได้

2.การใช้สารอะบาเม็กติน ซึ่งเป็นสารชนิดถูกตัวตายก่อนปลูกพืชนั้นควบคุมการเกิดปมได้เท่ากับ 50-70%

3.การนำพืช 4 ชนิดมาปลูกสลับหมุนเวียนกับพริก เพื่อตัดวงจรชีวิตของไส้เดือนฝอยรากปมหรือลดจำนวนประชากรไส้เดือนฝอยในดินเป็นอีกหนึ่งวิธีป้องกันกำจัดโรคโดยวิธีเขตกรรม พืช 4 ชนิด ได้แก่ งา ถั่วลิสง ดาวเรืองและปอเทือง แสดงให้เห็นว่าการใช้พืชปลูกสลับกับการใช้ความร้อนก่อนเพาะเมล็ดช่วยลดระดับการเกิดโรครากปมได้ โดยปอเทืองเป็นพืชที่ปลูกสลับก่อนปลูกพริกได้ดีที่สุด ช่วยลดการเกิดปมในพริกที่ปลูกตามหลังปอเทืองได้ 100%


----------- ^ ^ ---------

ที่มา :

ศูนย์ทางด่วนข้อมูลทางการเกษตร*1677
สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ.อุบลราชธานี

กำจัดโรคกุ้งแห้งในพริกด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา

กำจัดโรคกุ้งแห้งในพริกด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา 

คุณณัฐกานต์ มีปัญหาเรื่องการทำสวนพริกขี้หนู ซึ่งได้บอกกับทีมงานทางด่วนข้อมูลการเกษตรกร จังหวัดนครศรีธรรมราชว่า เกษตรกรในพื้นที่ม. 5 ต. เกาะทวด อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพทำสวนพริกขี้หนูเป็นการพาณิชย์ แต่ในช่วงนี้ได้ประสบปัญหาพริกเป็นโรคกุ้งแก้ง ตนและเกษตรกรรายอื่นจึงโทรมาสอบถามว่าโรคกุ้งแก้งสามารถแก้ไขได้อย่างไรบ้าง




ทางทีมงานจึงประสานไปยังนักวิชาการเกษตร ของศูนย์บริหารศัตรูพืช จ.สงขลา คุณวัชรีบอกว่าปัญหาโรคกุ้งแห้งนั้นสามารถใช้สารไตรโคเดอร์มาฉีดพ่นป้องกันได้ วิธีการคือ นำหัวเชื้อไตรโคเดอร์มามาผสมกับน้ำเปล่าอัตราส่วน หัวเชื้อไตรโคเดอร์มา 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร หากว่าระยะการระบาดของโรคกุ้งแห้งมากให้ใช้อัตราส่วน หัวเชื้อไตรโคเดอร์มา 1 กิโลกรัม ต่อ น้ำ100ลิตร ฉีดพ่นในระยะที่โรคกุ้งแห้งเริ่มติดผลฉีดทุกสัปดาห์ สัปดาห์ละ 3-4 วันในช่วงเย็น

**ที่สำคัญ คือ ตัวเกษตรกรต้องหมั่นค่อยเก็บผลที่เป็นโรคกุ้งแห้งออกไปทำลายโดยการเผา หากเห็นว่ามีผลติดโรคนี้แล้วควรเด็ดเผา เพราะเชื้อของโรคกุ้งแห้งจะปลิวไปกับลมสามารถทำให้ผลพริกอื่นติดโรคนี้ไปด้วย

--------- ^ ^ ---------
ที่มา :
ศูนย์ทางด่วนข้อมูลการเกษตร *1677
สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ.นครศรีธรรมราช

สูตรสมุนไพรป้องกันแมลงวันทองเจาะผลพริก

สูตรสมุนไพรป้องกันแมลงวันทองเจาะผลพริก

 

แมลงที่เข้าทำลายให้พริกได้รับความเสียหายได้แก่ แมลงวันทอง ซึ่งเป็นคนละชนิดกับที่เข้าทำลายในผลไม้ (malaysian fruit fly) เมื่อเข้าทำลายย่อมสร้างความเสียหายให้เกิดขึ้นกับผลผลิตพริกเป็นอย่างมาก เนื่องจากพริกที่โดนแมลงวันทองเข้าทำลาย จะมีลักษณะบวม มีหนอนอยู่ข้างใน และร่วงหล่นในที่สุด เกิดความเสียหายแก่เกษตรกร ด้วยเหตุนี้ คุณทองอารย์ สามศรี เกษตรกรบ้านเวียงเกษม ต. หนองสะโน อ. บุณฑริก จ. อุบลราชธานี ซึ่งเป็นเกษตรกรผู้ที่เชี่ยวชาญในด้านการปลูกพริก ได้แนะนำสูตรสมุนไพรที่ใช้ในการป้องกันกำจัดแมลงวันทองในพริก ซึ่งใช้ได้ผลดีจริงในแปลงปลูกไว้ดังนี้



++ สูตรสมุนไพรที่ใช้ในการป้องกันกำจัดแมลงวันทองเจาะผลพริก++

ส่วนผสม :

1. ยาเส้น จำนวน 3 ขีด

2. น้ำส้มสายชู จำนวน 1 ขวด

3. เหล้าขาว จำนวน 1 ขวดใหญ่

4. น้ำยาล้างจาน จำนวน 3 ช้อนโต๊ะ

วิธีการทำ :

นำส่วนผสมทั้งหมดผสมให้เข้ากัน อาจจะเติมจุลินทรีย์ EM หรือกากน้ำตาลด้วยก็ได้ หมักทิ้งไว้ในถังพลาสติกทึบแสงประมาณ 7 วัน ก็สามารถนำน้ำหมักสมุนไพรมาใช้ได้

วิธีการนำไปใช้ :

น้ำหมัก 2-5 ช้อนแกง (20-50 ซีซี)/น้ำ 20 ลิตร นำไปฉีดพ่นให้ทั่วแปลง โดยฉีดทั้งบนใบและใต้ใบ อาจจะแดพ่น 3-4 วัน ครั้ง หรืออาทิตย์ละครั้งก็ได้ แล้วแต่ความรุนแรงของการเข้าทำลาย แต่คุณทองอารย์ สามศรี เน้นว่าฉีดพ่นถี่เท่าไรก็ยิ่งดี เพราะน้ำหมักสมุนไพรไม่เป็นอันตราย ปลอดภัยหายห่วง

---------- ^ ^ -----------

ที่มา :

ศูนย์ทางด่วนข้อมูลการเกษตร *1677
สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ.อุบลราชธานี

การปลูกดาวเรืองป้องกันแมลงในสวนพริก

การปลูกดาวเรืองป้องกันแมลงในสวนพริก 



พริกถือว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งของไทย ซึ่งผลผลิตมากกว่า 90% ใช้เพื่อบริโภคภายในประเทศเป็นหลัก แต่ปัญหาที่สำคัญของการผลิตพริกที่พบเจอกันประจำ คือปัญหาแมลงศัตรูพริก เช่น หนอน เพลี้ย วันนี้เราจะแนะนำเกี่ยวกับวิธีการแก้ปัญหา ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพริกตามแบบฉบับของคุณทองอารย์ สามศรี ซึ่งเป็นเกษตรกรชาวจังหวัดอุบลราชธานี โดยวิธีการปลูกดาวเรืองไว้รอบๆแปลงพริก เพื่อป้องกันการเข้าทำลายของแมลงศัตรูพริก โดยเฉพาะแมลงหวี่ขาว



คุณทองอารย์ สามศรี ปลูกพริกมาเป็นเวลา 5 ปี สามารถผลิตพริกได้ใบรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัย (GAP) ปัญหาที่พบในการปลูกพริกในช่วงฤดูแล้ง และต้นฤดูฝน คือ แมลงหวี่ขาวเข้าทำลายพริก โดยแมลงหวี่ขาวตัวเต็มวัยเป็นเป็นแมลงขนาดเล็ก ลำตัวสีเหลืองมีปีก 1 คู่ ปกคลุมด้วยผงสีขาว จะเคลื่อนไหวเมื่อถูกรบกวน วางไข่เป็นฟองเดี่ยว ๆ หรือชิดติดกันที่ด้านใต้ใบพืช ไข่มีสีเหลืองอ่อนลักษณะยาวเรียวและมีก้านสั้น ๆ ยึดติดกับใบพืช ตัวอ่อนมีรูปร่างคล้ายรูปไข่ ขอบด้านข้างลาดลง สีเหลืองปนเขียว ตัวอ่อนวัยที่ 1 เคลื่อนไหวได้ ตัวอ่อนที่มีอายุมากขึ้นจะเกาะนิ่งอยู่ด้านใต้ใบพืชและดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบเป็นอาหาร เป็นแมลงจำพวกปากดูด ดูดน้ำเลี้ยงจากต้นพริก ทำให้ต้นพริกหงิกงอ เหี่ยวเฉา หยุดการเจริญเติบโต และอาจตายได้ในที่สุด หากช่วงใดมีฝนตกชุก ปัญหาก็จะทุเลาลง แต่หากช่วงใดมีฝนตกน้อย ปัญหาก็จะเกิดขึ้นมาก จากความช่างสังเกต จึงพบว่าเมื่อมีต้นดาวเรืองที่ขึ้นข้างต้นพริกตามธรรมชาติอยู่ในบริเวณใด บริเวณนั้นจะไม่มีปัญหาเรื่องแมลงหวี่ขาวเข้าทำลาย คุณทองอารย์ สามศรี จึงทดลองปลูกดาวเรืองรอบแปลงพริก ด้วยเทตนิคง่ายๆ ดังนี้

วิธีการของคุณอารย์ สามศรี :

1. ปลูกดาวเรืองรอบแปลงพริกให้ทั่ว

2. เมื่อดาวเรืองออกดอก **เวลาประมาณ ตี 3-4 (แล้วแต่สะดวก) ใช้ไม้เคาะที่ดอกดาวเรือง ดอกดาวเรืองจะคลายกลิ่นออกมา ซึ่งสามารถไล่แมลงโดยเฉพาะแมลงหวี่ขาวได้เป็นอย่างดี

-------- ^ ^ -----------

ที่มา :

ศูนย์ทางด่วนข้อมูลการเกษตร *1677
สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ.อุบลราชธานี

พริกพิโรธหรือพริกร้อยครก

พริกพิโรธหรือพริกร้อยครก
 


วันนี้ทางทีมงานร่วมด้วยช่วยกันสงขลา มีเรื่องราวของพริกพิโรธร้อยครกมาฝากกัน ซึ่งเป็นข่าวดีด้วยว่า หากจะหาปลูกติดบ้านไว้ คงช่วยลดค่าใช้จ่ายเรื่องพริกลงได้มาก ทางทีมงานฯ ได้ไปพบกับคุณวิลาศ โพธิภักดี ซึ่งได้เล่าให้ฟังเราถึงความเป็นมาของพริกพิโรธร้อยครกว่า ได้รับแจกเมล็ดพันธุ์มาจาก การไปเที่ยวชมงานเกษตรภาคใต้ครั้งที่ 16 ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่ง สถานีร่วมด้วยช่วยกันสงขลา ได้จัดงานแสดงสินค้าเกษตรขึ้นมา โดยรวมผลิตภัณฑ์เด่น ๆ ของเกษตรกร มีผลิตภัณฑ์มากมาย หนึ่งในนั้นคือพริกพิโรธร้อยครกจาก ลพบุรี โดยได้รับการอนุเคราะห์จากคุณสุชาติ ม่วงสกุล ซึ่งในงานวันสุดท้ายคุณวิลาศ เป็นผู้โชคดี ได้รับแจกเมล็ดพันธุ์มา 1 เมล็ด จึงนำไปเพาะพันธุ์ต่อ นับตั้งแต่นั้นมา เมื่อพริกพิโรธฯ เริ่มขยายพันธุ์ได้แล้ว ตอนนี้มีพริกพิโรธฯ อยู่มากมายเต็มบ้านเลยทีเดียว และยังคงมีเมล็ดแห้งที่พร้อมจะขยายพันธุ์ได้อีกมากนับพันต้น และตอนนี้คุณวิลาศ ก็พร้อมแล้วที่จะเพาะพันธุ์เพื่อจำหน่ายจ่ายแจก คาดว่า เมื่อเข้าสู่หน้าฝนนี้ คงจะเริ่มมีกล้าพริกพิโรธฯ เพิ่มขึ้นมากอีกนับพันกล้าเลยทีเดียว

พริกพิโรธร้อยครก เป็นพริกที่มีความเด่นพิเศษในเรื่องความเผ็ด ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า มีความเผ็ดมาก ๆ โดยผู้เป็นเจ้าของที่จังหวัดลพบุรี คือคุณสุชาติ ม่วงสกุล ได้เคยทำการตรวจวัดวิเคราะห์ความเผ็ดจากผู้เชี่ยวชาญว่า มีความเผ็ดประมาณ 800,000 สโควิลส์ นับได้ว่าเผ็ดมาก ๆ เกือบเท่าพริกปีศาจของอินเดียที่เผ็ดที่สุดในโลก ซึ่งมีความเผ็ดประมาณ 1,000,000 สโควิลส์ หากจะเปรียบเทียบกับพริกขี้หนูของไทยซึ่งมีความเผ็ดเพียง 35,000 สโควิลส์ เท่านั้น

ตอนนี้สถานการณ์ล่าสุดของพริกนั้น ทั่วประเทศกำลังประสบปัญหาพริกราคาแพง ซึ่งตอนนี้ราคากิโลกรัมละ 250 บาทเลยทีเดียว ( จ.สตูล ) จะเป็นการดีหากได้พริกพิโรธร้อยครกมาช่วยเอื้อประโยชน์ตรงนี้ บางที หากมีการขยายผลไปในแนวทางที่ถูกต้อง อาจทำให้ชาวบ้านได้รับประโยชน์จากพริกพิโรธร้อยครกนี้เป็นอย่างมาก

-------- ^ ^ --------

ที่มา :

ศูนย์ทางด่วนข้อมูลการเกษตร *1677
สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ.สงขลา

การปลูกพริกเพื่อการค้า

การปลูกพริกเพื่อการค้า

พริกเป็นพืชผักที่มีความสำคัญในการประกอบอาหารประจำวัน สำหรับคนไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากคนไทยนิยมรับประทานอาหารที่มีรสชาติค่อนข้างเผ็ด จึงนิยมปลูกพริกเพื่อบริโภคในครัวเรือนและนอกจากนี้ยังมีการปลูกพริกเพื่อการค้าในรูปพริกสด ผลิตภัณฑ์แปรรูปเครื่องปรุงแต่งรส เช่น พริกแห้ง พริกป่น น้ำพริกเผา น้ำพริกแกง และซอลพริก เป็นต้น พริกที่ปลูกกันมากในปัจจุบันนี้สามารถแบ่งตามขนาดของผลพริก ได้ 2 ชนิด ดังนี้
1. การเตรียมดินปลูกพริก

ควรขุดหรือไถดินให้ลึกประมาณ 15 ซม. ตากดิน 5-7 วัน ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกที่สลายตัวแล้ว ประมาณ 20 กก. ต่อเนื้อที่ 5 ตารางเมตร พรวนย่อยผิวหน้าดินให้ละเอียด เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินแปลงเพาะควรใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 400 – 500 กรัม พรวนกลบลงในดิน รอบแปลงเพาะควรใช้สารเคมี เช่น ออลดรินโรยเพื่อป้องกันมด แมลง เข้าไปทำลายเมล็ดพันธุ์ที่เริ่มงอก

2. การเตรียมเมล็ดพันธุ์พริก

ควรเลือกใช้พันธุ์พริกที่ตรงตามความต้องการของตลาดมีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ก่อนนำเมล็ดพันธุ์ไปหว่าน คัดเมล็ดพันธุ์ที่ไม่สมบูรณ์ออกโดยนำเมล็ดพันธุ์แช่น้ำสะอาดเมล็ดพันธุ์ที่เสียจะลอยน้ำแล้วคัดออก นำเมล็ดพันธุ์ดีคลุกสารเคมีไดเทนเอม 45 อัตราส่วน 1 ช้อนแกงต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กก. หรือนำไปแช่น้ำอุ่นที่อุณหภูมิประมาณ 50 องศาเซลเซียส เป็นเวลานานประมาณ 30 นาที ก่อนนำไปหยอดหรือหว่านในแปลงเพาะกล้า

3. การเพาะเมล็ดพริก

นำเมล็ดพันธุ์หว่านให้กระจายทั่วทั้งแปลงเพาะ หรือโรยเมล็ดเป็นแถวลงไปในร่องลึก 0.6 – 1 ซม. ห่างกันแถวละประมาณ 10 ซม. กลบด้วยปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วหรือดินผสมละเอียดรดน้ำให้ชุ่มเสมอ คลุมด้วยฟางแห้งหรือหญ้าแห้งบางๆ เมื่อกล้าเริ่มงอกมีใบจริงอายุประมาณ 12 – 15 วัน ถอนแยกต้นที่เป็นโรคอ่อนแอ ไม่สมบูรณ์ หรือต้นที่ขึ้นเบียดกันแน่นเกินไปทิ้ง ให้มีระยะห่างกันพอสมควร และควรให้ปุ๋ยเสริมทางใบเพื่อให้ต้นกล้าเจริญเติบโตและแข็งแรง เมื่อต้นกล้าอายุ 30 – 40 วัน ก็สามารถย้ายลงปลูกในแปลงใหญ่ได้

4. การย้ายกล้าปลูกพริก

ก่อนย้ายกล้าควรรดน้ำเพื่อให้ต้นกล้าแข็งตัว ดินร่วน และง่ายต่อการถอนต้นกล้า การย้ายกล้าอาจจะย้ายจากแปลงเพาะลงในถุงเพาะชำก่อน เมื่อกล้ามีใบจริง 2 ใบ ระยะเวลาการชำในถุงประมาณ 15 – 20 วัน จะทำให้กล้าแข็งแรงสมบูรณ์ สม่ำเสมอกัน แล้วจึงย้ายปลูกในแปลงปลูก สำหรับการย้ายกล้าปลูกในแปลงปลูกควรย้ายกล้าในเวลาบ่ายถึงเย็น ขณะที่แสงแดดไม่ร้อนจัด หลังจากปลูกรดน้ำต้นกล้าที่ปลูกใหม่ให้ชุ่ม ให้ใช้ฟางแห้งหรือหญ้าแห้งคลุมดินเพื่อช่วยรักษาความชุ่มชื้นในดิน จะทำให้ต้นกล้าตั้งตัวได้เร็วขึ้น

5. การเตรียมดินปลูกพริก

ต้องพิจารณาเลือกพื้นที่ที่มีการระบายน้ำได้ดี การกำหนดแถวปลูกให้กำหนดแถวคู่ห่างกัน 1.20 ม. และให้ระยะระหว่างแถวห่างกัน 0.50 ม. ระยะระหว่างต้น 0.50 X 0.50 ม. เมื่อเตรียมแปลงปลูกแล้วให้ใส่ปุ๋ยคอกในอัตราไร่ละ 1,200 – 3,000 กก. ทำการคลุกปุ๋ยคอกให้เข้ากับดินแล้วใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ในอัตรา 50 กก. ต่อไร่ และใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดแมลงชนิดดูดซึม คือ คาร์โบฟูราน เช่น ฟูราดาน คูราแทร์ โรยลงไปในหลุมประมาณ ? ช้อนชา และในสภาพดินที่เป็นกรดจัดควรใช้ปูนขาวในอัตรา 200 – 400 กก.ต่อไร่

6. การปฏิบัติดูแลรักษาพริก

1. การให้น้ำพริก - พริกเป็นพืชที่ต้องการน้ำอย่างเพียงพอ และสม่ำเสมอในช่วงแรกของการเจริญเติบโต ดินควรมีความชุ่มชื้นพอดีอย่าให้เปียกแฉะเกินไปจะทำให้ต้นพริกเหี่ยวตายได้ ในช่วงเก็บผลผลิตควรลดการให้น้ำเพื่อจะทำให้คุณภาพผลผลิตดี สีของผลสวย

2. การกำจัดวัชพืช - ในระยะที่ต้นพริกยังเล็กควรมีการกำจัดวัชพืชให้บ่อยครั้ง หากวัชพืชคลุมต้นพริกช่วงระยะการเจริญเติบโต จะทำให้แคระแกร็นคุณภาพผลผลิตไม่ดี การกำจัดวัชพืชน้อยครั้งยังมีผลทำให้ดินที่มีผิวหน้าแข็งหรือเหนียวจับกันเป็นแผ่น น้ำซึมผ่านได้ยากให้มีการถ่ายเทอากาศและระบายน้ำดี

3. การใส่ปุ๋ยพริก - พริกเป็นพืชที่มีอายุการเก็บผลค่อนข้างยาวนาน ปุ๋ยที่ใช้ควรเป็นปุ๋ยที่มีธาตุอาหารครบ เช่น ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 13-13-21 ในอัตรา 50-100 กก.ต่อไร่ เพื่อเป็นการช่วยเสริมการเจริญเติบโต นอกจากนี้ควรใส่ปุ๋ยน้ำทางใบโดยทำการฉีดพ่นทุกครั้งหลังการเก็บเกี่ยว การใช้ปุ๋ยเคมีจะได้ผลต่อพืชสูงสุดขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินกับปริมาณการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ควบคู่กันไปด้วย

การใส่ปุ๋ยควรแบ่งใส่ 2 ครั้ง ใส่ครั้งแรกปริมาณครึ่งหนึ่งก่อนปลูกเป็นปุ๋ยรองพื้นพรวนกลบลงในดิน โรยปุ๋ยไนโตรเจนใส่ข้างต้นพริก เมื่ออายุ 10 -14 วัน หลังจากย้ายกล้า ใส่ครั้งที่สองปริมาณอีกครึ่งหนึ่งที่เลหือใส่โรยข้างแล้วแต่งหน้าด้วยปุ๋ยไนโตรเจนพรวนกลบลงในดิน

8. การเก็บเมล็ดพันธุ์พริก

การเก็บเมล็ดพันธุ์พริกถูกวิธีจะทำให้มีพันธุ์พริกที่ดี ติดผลดก ผลผลิตสูง มีความต้านทานต่อโรคและแมลง คุณภาพดีเป็นที่ต้องการของตลาดไว้สำหรับปลูกในฤดูกาลต่อไป ซึ่งเกษตรกรสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ได้ด้วยตนเอง ดังนี้

1. เลือกจากต้นที่มีลำต้นแข็งแรง สมบูรณ์ เหนียวไม่หักง่าย

2. เลือกจากต้นที่ให้ผลดก และขนาดผลใหญ่สมบูรณ์

3. เลือกจากต้นที่ปราศจากโรค และทนทานต่อโรคและแมลง

4. เลือกจากต้นที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นได้ดี

5. เลือกจากผลแก่สีแดงสด ในช่วงระยะเก็บ 7 วันต่อครั้ง จะได้เมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์

9. การคัดเมล็ดพันธุ์พริก

เมื่อคัดเลือกผลผลิตพริกได้ตามที่ต้องการแล้ว ให้นำไปบดหรือโขลกหยาบๆ จากนั้น นำพริกทั้งกากแช่ในน้ำเกลือแกง ในอัตราส่วนผสม คือ เกลือ 2 ช้อนต่อน้ำ 1 ลิตร หลังจากนั้นช้อนกากและเมล็ดลีบที่ลอยน้ำออกทิ้งไป ส่วนเมล็ดที่ดีให้นำไปผึ่งบนตะแกรงในล่อนหรือไม้ไผ่สาน ไม่ควรตากบนภาชนะโลหะเพราะจะทำให้เมล็ดพันธุ์ร้อนจัดเกินไป ระยะเวลาที่เหมาะสมที่แดดไม่ร้อนจัดควรเป็นตอนเช้าหรือบ่ายวันละ 2 – 3 ชั่วโมงโดยตาก 2 – 3 แดด จากนั้นเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ในภาชนะที่แห้ง ปราศจากความชื้นแล้วปิดฝาให้สนิท

10. การเก็บพริกทำพริกแห้ง

ควรเลือกเก็บพริกที่แก่จัดสีแดงสดตลอดทั้งผล ปราศจากโรคแมลง เข้าทำลายแล้วรีบนำไปทำให้แห้งโดยเร็วจะทำให้ได้พริกแห้งที่มีสีสวยและคุณภาพดี

- การทำพริกแห้งให้มีสีสวยคุณภาพดี มีหลายวิธีดังนี้

1. พริกใหญ่ ได้แก่ พริกชี้ฟ้า พริกมัน พริกเหลือง พริกหยวก พริกยักษ์

2. พริกเล็กหรือพริกขี้หนู ได้แก่ พริกจินดา พริกหัวเรือ พริกห้วยสีทน พริกจินดายอดสน พริกจินดาลาดหญ้า พริกขี้หนูสวน พริกเดือยไก่ พริกปากปวน

***พริกเป็นพืชในเขตร้อนหรือกึ่งร้อนที่ทนความแห้งแล้งได้ดีพอควร และสามารถปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ดินที่เหมาะสมที่สุดคือ ดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำดี ไม่มีน้ำท่วมขังหรือชื้นแฉะ เพราะจะทำให้รากเน่าและตายได้

อายุการปลูก : ตั้งแต่ย้ายกล้าจนถึงเก็บเกี่ยว

- พริกชี้ฟ้า พริกมัน พริกเหลือง อายุประมาณ 70 – 90 วัน

- พริกเล็กหรือพริกขี้หนู อายุประมาณ 60 - 90 วัน

- พริกยักษ์ อายุประมาณ 60 – 80 วัน

ฤดูปลูก :

ปลูกได้ตลอดปี แต่ปลูกได้ผลดีที่สุดระหว่างเดือน ตุลาคม - กุมภาพันธ์ เป็นช่วงที่เก็บผลผลิตในฤดูแล้ง ทำให้สะดวกในการตากแห้ง และช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพริกชี้ฟ้า พริกขี้หนู 24 – 29 องศาเซลเซียล

1. การตากแดด คือการนำพริกที่คัดเลือกแล้วนำมาตากแดดโดยตรง แผ่พริกบางๆ บนเสื่อ หรือพื้นบานซีเมนต์ที่สะอาด โดยตากแดดทิ้งไว้ 5 – 7 แดด

2. การอบด้วยไอร้อน คือการนำพริกเข้าอบด้วยไอร้อนในเตาอบโดยวางพริกบนตระแกรง แล้ววางตะแกรงเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ วิธีนี้เหมาะสำหรับเกษตรกรที่ปลูกพริกเป็นจำนวนมาก และการทำพริกแห้งในช่วงฤดูฝน

3. การลวกน้ำร้อน คือ การนำพริกไปลวกน้ำร้อนก่อน โดยลวกนาน 15 นาที แล้วนำไปตากแดดประมาณ 5 แดด วิธีนี้จะทำให้สีของพริกแห้งสวย และไม่ขาวด่าง

4. การอบพริกด้วยโรงอบพลังแสงอาทิตย์ เป็นวิธีที่ทำให้ได้พริกที่มีคุณภาพดี สีสวย ก้านพริกแห้งสีทองไม่ดำ สะอาดไม่มีฝุ่นจับอบได้ครั้งละ 400 กก. ใช้เวลาอบประมาณ 3 วัน

5. ในกรณีที่เก็บพริกแก่จัดแต่ไม่แดงตลอดทั้งผลให้นำพริกใส่รวมกันในเข่งหรือกระสอบปุ๋ยบ่มไว้ในที่ร่มประมาณ 2 คืน เพื่อทำให้พริกสุกสม่ำเสมอกัน หลังจากนั้นทำให้แห้งได้ตามกรรมวิธีในข้อ 1 – 4

ภาพประกอบโดย : Maminyada
---------------------------------- ^ ^ ------------------------------
ที่มา :
กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

พริกไทย ปลูกบนต้นปาล์ม

พริกไทย ปลูกบนต้นปาล์มที่มีอายุ 5 ปีขึ้นไป ดูแลง่ายให้ผลผลิตดี สามารถสร้างรายได้เสริมนอกเหนือจากการปลูกปาล์มได้อย่างดี

                เวลา ว่างส่วนใหญ่ของคุณลุงเฉลียว มักจะอยู่กับการปลูกต้นไม้ และการทำสวน เล็กๆ น้อยๆ กอรปกับพื้นที่บริเวณรอบบ้านมีสวนปาล์มน้ำมันอายุ ประมาณ 5-6 ปี จึงได้ทดลองนำพริกไทยมาทำการปลูกไว้บนต้นปาล์มน้ำมัน เพื่อหา รายได้เสริม พอทำมาได้สักระยะก็เห็นว่าให้ผลผลิตที่ดีจึงได้ดำเนินการมา อย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีวิธีการดังต่อไปนี้




**ต้น ปาล์มน้ำมัน : ต้นปาล์มน้ำมันควรมีอายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป เนื่องจากจะมีบริเวณต้นที่สามารถให้พริกไทยเจริญเติบโตได้ดีและจะทำให้แดด ส่องถึง**


การเตรียมกล้าพันธุ์พริกไทย :
1.ทำการตัดไหลพริกไทย ซึ่งมีความยาวประมาณ 50 ซม.
2.เตรียมถุงเพาะชำที่ใส่ดินขุยมะพร้าว และปุ๋ยคอก สำหรับพริกไทย
3.นำไหลพริกไทยมาปักไว้ในถุงเพาะชำที่เตรียมไว้
4.หมั่นรดน้ำ กระทั่งพริกไทยงอกรากและแตกยอด ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือน ก็จะได้ต้นพริกไทยที่พร้อมปลูก


ขั้นตอนการปลูกและดูแลพริกไทยบนต้นปาล์มน้ำมัน :
1.ขุดหลุมบริเวณโคนต้นปาล์มน้ำมัน ซึ่งให้มีระยะห่างจากโคนต้นปาล์มน้ำมัน ประมาณ 30 ซม.
2.ขุดหลุมเพื่อทำการปลูกพริกไทยประมาณ 4-5 หลุม ต่อ ปาล์มน้ำมัน 1 ต้น
3.ทำการรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก
4.จากนั้นให้นำกล้าพันธุ์พริกไทยลงปลูกในหลุมขุดไว้
5.แล้วนำยอดของต้นพริกไทยไปพันบริเวณลำต้นของปาล์มน้ำมัน เพื่อให้ต้นพริกไทยเกาะและเจริญเติบโตบนต้นปาล์มน้ำมัน
6.จากนั้นทำการใส่ปุ๋ยคอก และทำการรดน้ำวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น
7.ระยะเวลาประมาณ 3 ปี ก็จะสามารถเก็บพริกไทยจำหน่ายได้

**ระวังอย่าใช้ปุ๋ยเคมีเนื่องจากพริกไทยไม่ชอบพวกสารเคมีอาจจะส่งผลให้พริกไทยเฉาและตายได้**



ข้อดีของการปลูกพริกไทยเสริมบนต้นปาล์มน้ำมัน :
1.สามารถสร้างรายได้เสริมสำหรับเกษตรกรที่ปลูกปาล์มน้ำมัน
2.ราคาดี และสามารถจำหน่ายได้ทั้งแบบ พริกไทยสด และพริกไทยแห้ง
3.การดูแลง่ายและสะดวก


ขอขอบคุณข้อมูล : นายเฉลียว แดงสกล ม.17 ต.ท่าแซะ อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร


อ้างอิง : ศูนย์ทางด่วนข้อมูลทางการเกษตร*1677
สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกันจ.ชุมพร

ที่มา : http://www.rakbankerd.com/agriculture/page.php?id=1118&s=tblplant