Saturday, November 17, 2012

โรคของพริกและการป้องกันกำจัด



โรคของพริกและการป้องกันกำจัด
ดร.นุชนารถ  จงเลขา

พริกมีหลายชนิด  แต่ที่จะพูดถึงวันนี้เป็นพริกยักษ์ที่คนไทยเรียกขานกันอยู่ แต่ชาวยุโรปจะเรียกว่า พริกกระดิ่ง (bell peper) หรือพริกหวาน (sweet peper) สำหรับอาการของโรคที่ปรากฎจะคล้ายกับอาการที่เกิดกับพริกชี้ฟ้า และบางโรคก็คล้ายกับอาการที่เกิดกับยาสูบด้วย  จึงอยากจะนำมาเสนอให้เข้าใจถึงลักษณะอาการของโรค และแนะนำวิธีการควบคุมโรค  เพื่อประโยชน์สำหรับเกษตรกรผู้ปลูกพริกและยาสูบโดยทั่วไป

โรคแอนแทรคโนส (anthracnose)  อาการจะเกิดได้ทั้งบริเวณผล ขั้วผล ใบ ก้านใบ โดยจะเป็นแผลสีน้ำตาล ที่แผลบนผลพริก  แผลจะลึกลงไปในผิวพืชและมีผงสีดำติดอยู่  สีดำที่เห็นเป็นซีตี้ (setae) ที่มีลักษณะคล้ายขนสีน้ำตาลเข้ม  อยู่ในโครงสร้างรูปจาน (acervulus) ที่บรรจุสปอร์ของเชื้อรา  คอเลทโททริคั่ม นั่นเอง  โรคนี้ถ้าเป็นกับพริกชี้ฟ้าจะทำให้เกิดแผลจนรอบผลพริก ทำให้สีของพริกเปลี่ยนจาก สีแดงเป็นสีปูนแห้ง  และผลพริกจะแห้งงอ เรียกลักษณะอาการเช่นนี้ว่าพริกกุ้งแห้ง  ถ้าเกิดกับก้านใบและก้านผลก็จะทำให้ใบร่วงผลร่วง การควบคุมโรคนี้ทำได้โดยใช้สารเคมีควบคุม  สารเคมีที่ใช้ได้ผลเป็นสารประเภทโปรปิเนบ (propineb)ซิเนบ (zineb)แมนโคเซ็บ (mancozeb) อย่างใดอย่างหนึ่งฉีดพ่นเพื่อป้องกัน  ถ้ามีการระบาดหนักให้ใช้สารประเภท บีโนมิล (benomyl) และ คาร์เบนดาซิม (carbendazim) ฉีดพ่นสบับกับสารที่กล่าวมาแล้ว

โรคของพริกที่จะกล่าวโรคที่สอง คือ โรคใบจุดแบคทีเรีย หรือแบคทีเรี่ยล สะเป้ค (bacterial speck) โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ในสกุลแซนโธโมแนส (Xanthomonas) ทำให้เกิดเป็นจุดรูปร่างไม่แน่นอน สีน้ำตาลปนเทา ขอบแผลสีน้ำตาลเข้ม กลางแผลมีจุดสีน้ำตาลหลายแผลจะต่อกันทำให้แผลมีขนาดใหญ่  แผลเกิดกระจายทั่วไปและลุกลามอย่างรวดเร็ว แรก ๆ แผลจะปรากฎเป็นอาการฉ่ำน้ำ แต่นาน ๆ เข้าแผลจะแห้งจนดูคล้ายเกิดจากเชื้อรา การควบคุมโรคนี้ โดยการใช้สารเคมี  เช่นใช้สารประกอบทองแดง เช่น คอปเปอร์ซับเฟต คอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ และพวกบอร์โดมิกซ์เจอร์ หรือจะใช้สารปฏิชีวนะผสมคอปเปอร์คลอไรด์ไฮดรอกไซด์  ชื่อการค้าของสารเหล่านี้ได้แก่ โคแมค คูปราวิต แคงเคอร์เอ็กซ์ โคแพค-อี คาซูแรน คาซูมิน และโคไซด์ เป็นต้น

โรคต่อไปจะพูดถึงโรคเหี่ยวที่พบเห็นเสมอ เกิดจากแบคทีเรียซูโดโมแนส (Pseudomonas solanacearum) ซึ่งสามารถทำลายมะเขือเทศ พริก ยาสูบ และมันฝรั่ง และพืชอีกหลายชนิด อาการเหี่ยวจะปรากฎให้เห็นในลักษณะที่ใบพืชยังเขียวอยู่แต่เหี่ยว ถ้าตัดบริเวณโคนต้นไปจุ่มน้ำดูจะพบเมือกแบคทีเรียไหลออกมา  โรคนี้ควบคุมยากจะต้องป้องกันโดยการเตรียมดินให้ดี  พื้นที่ที่เคยเป็นโรคนี้  ให้ขุดต้นเป็นโรคออกทั้งรากวางบนแปลงตากแดด  เมื่อแห้งให้เผาทำลาย  การปลูกพืชครั้งต่อไปต้องขุดดินตากแดดจัดไว้นาน ๆ ก่อนปลูกควรใส่ปุ๋ยมูลสัตว์ที่แห้งดีแล้วทุบละเอียดผสมดินรองก้นหลุม  หรือจะใช้ปุ๋ยหมักที่คุณภาพดีรองก้นหลุมก็ได้จะได้ช่วยลดการเกิดโรคนี้ได้  สำหรับการแก้ปัญหาเมื่อพบโรคนี้  ควรขุดต้นเป็นโรคออกใส่ถุงพลาสติก นำออกไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก ราดบริเวณที่เป็นโรคด้วยสารทีซีเอ็มทีซี (ชื่อการค้า บูซาน-30) หรือราดด้วยสารประเภททองแดง เช่น คอปเปอร์ซัลเฟต จะช่วยป้องกันการระบาดได้

โรคที่ร้ายแรงอีกโรคหนึ่งคือ โรคใบด่างเป็นวง หรือมักเรียกว่าใบจุดวงแหวน (ring spot) โดยการด่างเป็นวงสีเขียวอ่อน เป็นลวดลาย  ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส การผิดปกติ เช่น ใบหงิก ใบงอ ใบด่าง ใบเป็นคลื่น จะพบเสมอในพริก  ซึ่งอาจจะเกิดจากไร เพลี้ยไฟ และไวรัส  จึงต้องสังเกตให้ดี  โดยการใช้แว่นขยายตรวจดูศัตรูของพริกด้วย  ส่วนเชื้อไวรัสไม่มีสารเคมีชนิดใดที่รักษาโรคได้ ได้แต่ป้องกันการระบาด  โดยการทำลายพาหะของโรค และบำรุงพืชให้แข็งแรงเพื่อต้านทานโรค

โรคใบจุดตากบ (frog-eye spot)  จะพบประจำในพริกและยาสูบ จุดแผลจะกลม กลางแผลมีสีเทา ขอบแผลสีน้ำตาล แผลจะกระจายทั่วไป โรคนี้เกิดจากเชื้อเซอโคสะปอร่า (Cercospora) การควบคุมโรคนี้ใช้สารชนิดเดียวกับที่ใช้ควบคุมแอนแทรคโนสก็ได้  หรือจะใช้สารประเภทคลอโรธาโรนิล (chlorothalonil) ฉีดพ่นสม่ำเสมอขณะระบาด จะได้ผลดี

แสงแดดกล้าอาจจะทำให้ผิวของผลไหม้  ถ้าต้นพริกมีใบมาก  จะช่วยคลุมผลได้บ้าง  การปลูกในช่วงร้อนจัด  จึงควรปลูกในโรงเรือนที่มีหลังคากรองแสง จะช่วยลดความเสียหายลงได้

อาการขาดธาตุอาหารมักจะปรากฎเสมอ ๆ ในพืช  ในพริกก็เช่นกันพบการขาดธาตุไนโตรเจน อาการเหลืองจะเริ่มจากปลายใบเข้ามา  และเกิดกับใบแ เป็นอาการของการขาดธาตุไนโตรเจน  ถ้าทราบลักษณะการขาดธาตุแล้ว  การแก้ไขโดยให้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง เช่น ปุ๋ยทางใบสูตร 30-20-10 จะช่วยให้อาการด่างเหลืองหายไป

โรคที่พบเป็นบางพื้นที่คือโรคราแป้ง (powdery mildew) ซึ่งจะปรากฎผงสีขาว ๆ เกาะตามใบ และส่วนต่าง ๆ ของพริก สปอร์ และเส้นใยของราจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช ทำให้ใบเหลืองและร่วงหล่นในที่สุด  สารเคมีที่ใช้ได้ผลมีหลายชนิด เช่น สารประเภท กำมะถัน พวกไพราโซฟอส เบโนมิล ไตรดีมอร์บ และไตรโฟรีน เป็นต้น  ซึ่งชื่อการค้าได้แก่ อาฟูกาน เบนเลท คาลิกซิน และ ซาพรอล
ที่กล่าวมาแล้วเป็นโรคสำคัญ ๆ และพบเสมอ  ที่นำมาลงแม้จะเป็นโรคที่เกิดกับพริกยักษ์ทั้งหมด  แต่อาการของโรคที่เกิดกับพริกอื่น ๆ ก็จะเป็นไปในลักษณะเดียวกัน  จึงเท่ากับเป็นการอธิบายถึงโรคของพริกโดยทั่ว ๆ ไป  หวังว่าท่านผู้อ่านคงจะได้ประโยชน์บ้าง

คุณประโยชน์ของพริกหวาน

พริกหวาน ช่วยกระตุ้นทางการทำงานของกระเพาะอาหารทำให้ระบบการย่อยอาหารดีขั้น

รูปภาพพริกหวาน

พริกหวาน ชื่อ วิทยาศาสตร์ว่า  Capsicum annuum L. var. longum และมีชื่อสามัญว่า Banana pep per อยู่ในวงศ์  Solanaceae พริกหวานมีรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมถึงหกเหลี่ยม เนื้อหนามีหลายสีทั้งเขียว แดง เหลืองส้ม มีรสชาติหวานไม่เผ็ด สามารถรับประทานสดในสลัดหรือนำมาผัดกับผักชนิดต่างๆ เด็กและผู้ใหญ่สามารถรับประทานได้ ด้วยสีสันที่น่ารับประทานพริกหวานยังอุดมไปด้วยวิตามิน A, B1, B2และ C มีสารแคบไซซิน ช่วยยับยั้งอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือด โรคต้อกระจกและโรคมะเร็ง และยังมีเบตาแคโรทีนสูง เหล็ก และโพแทสเซียม ซึ่งพริกหวานสีเหลืองจะมีไวตามินมากกว่าพริกหวานสีส้มถึง 4 เท่า ในพริกสีเขียว 100 กรัมจะมีไวตามินซี 100 กรัมเช่นกัน
สรรพคุณ ของพริกหวาน ช่วยกระตุ้นทางการทำงานของกระเพาะอาหารทำให้ระบบการย่อยอาหารดีขั้น ช่วยเจริญอาหารบำรุงธาตุ ขับเหงื่อ ขับลม ขับเสมหะ แก้อาเจียน แก้หิด กลากเกลื้อน และสามารถลดความดันโลหิตได้ เพราะทำให้หลอดเลือดอ่อนตัวและช่วยให้ระบบการไหลเวียนของเลือดเป็นไปได้ดี
เมื่อเห็นสรรพคุณของพริกหวานแล้ว อย่าลืมใส่พริกหวานเป็นส่วนประกอบของอาหารในมื้อต่อไป 

ขอบคุณข้อมูลจาก : หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทยโดย พิทักษ์พงค์

วิธีปลูกพริก

วิธีปลูกพริก สั้นๆง่ายๆได้ใจความ
http://vegetweb.com/wp-content/download/p260.jpg


เพาะเมล็ดพริกหยอดในหลุมโดย ตรง  หลุมละ  3-5  เมล็ด  ซึ่งวิธีนี้นิยมปลูกในแปลงขนาดใหญ่  จุดอ่อนของการปลูกวิธีนี้ คือ  ต้นพริกอ่อนแอ อาจจะถูกมดและแมลงอื่นๆกัดกินใบ -เพาะเมล็ดพริกให้งอกก่อนแล้วนำไปปลูกในหลุม กลบด้วยดินบางๆ 

สำหรับวิธีการเพาะ คือ  นำเมล็ดพันธุ์ไปแช่ไว้ในน้ำ  จากนั้นนำผ้าชุบน้ำหมาดๆมาห่อทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน  เมล็ดก็จะงอกแล้วนำไปปลูก
-เพาะเมล็ดในแปลงเพาะก่อน  แปลงเพาะควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ปริมาณ 100 กรัม/ตารางเมตร  ขุดดินลึกประมาณ 5-8 นิ้ว  แนะควรใช้ฟูราดานในการเพาะด้วย หลังจากหว่านเมล็ดแล้วประมาณ 10 วัน  เมื่อต้นพริกมีอายุได้ 18 วัน  ให้รดด้วยน้ำผสมปุ๋ยแอมโมเนียซัลเฟต อัตราส่วน  1  กรัม/น้ำ  200  ซีซี.  แล้วรดน้ำตามทันที  หากเมล็ดไหนที่ยังไม่งอก ให้นำไปคลุกยาป้องกันกำจัดเชื้อรา ได้แก่  ออไธไซด์  เพื่อป้องกันโรคเร่าควรรดด้วยไดโฟลาแทน  80  หรือไดเทน  เอ็ม  45  .

ที่มา : เดลินิวส์

“ตามรอยความเผ็ด”

ร้าน “ซาดิสส์” เป็นร้านอาหารไก่ย่าง ส้มตำ กินแล้วหูแดงลุกเป็นไฟ เพราะมันเผ็ด สมกับชื่อร้านจริงๆ ด้วยรสชาติของ capsicin ซึ่งเป็นสารที่ให้ความเผ็ดในพริก (Chillies)
           ความเผ็ดคืออะไร

              วันนี้ 25 สิงหาคม 2549 มีโอกาสได้ไปกินข้าวเที่ยงกับเพื่อนร่วมงานที่ร้านซาดิสส์ซึ่งเป็นร้านอาหารไก่ย่าง ส้มตำ  ของชอบของชาวอิสาน พอไปถึงก็เริ่มสั่งเมนูเด็ดทันที คือ ตำลาวแซ่บๆ (อร่อย) 3 จาน ไก่ 2 ไม้ พออาหารมาถึงโต๊ะเท่านั้นแหละครับ ถึงได้รู้ว่าความแซ่บมันไม่ได้ปราณีใคร ต่างคนต่างหิวเริ่มซัดซะเต็มที่ พอเริ่มรู้สึกตัวเท่านั้นหละครับ หูแดงลุกเป็นไฟ เพราะมันเผ็ด สมกับชื่อร้านจริงๆ ด้วยรสชาติของ capsicin ซึ่งเป็นสารที่ให้ความเผ็ดในพริก (Chillies) จึงทำให้ผมนึกถึงอดีตเมื่อต้นปี 2549 ที่ผ่านมาทันที ครั้นเมื่อคราวที่ผมและทีมงานวิจัยได้ศึกษาช่องทางการตลาดพริกในจังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดศรีสะเกษ        
          พริกวันละ 200 กว่าตัน ต่อวันไปไหน พี่น้องชาว KM ทราบไหมครับว่าจังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดศรีสะเกษเป็นแหล่งผลิตพริกที่ใหญ่ที่สุดในเขตภาคอิสาน เพราะในช่วงของเดือนพฤศจิกายนมีนาคมของทุกปี และในปีนี้ผลผลิตพริกที่ปลูกโดยพี่น้องเกษตรกร และถูกรวบรวมโดยพ่อค้าคนกลาง แล้วถูกลำเลียงส่งไปขาย ที่จังหวัดขอนแก่น นครราชสีมา กรุงเทพ นครปฐม ที่เป็นพริกแดง และสำหรับพริกเขียวจะถูกลำเลียงส่งไปขายในเขตภาคใต้ของประเทศไทย และอีกส่วนหนึ่งถูกลำเลียงไปขายแถวประเทศมาเลเซีย 

 

           ลานกว้างของปั๊มน้ำมันคือจุดซื้อขายพริก  ความเอื้ออาทรที่เอื้อประโยชน์ซึ่งกันระหว่างพ่อค้าคนกลาง และเจ้าของปั๊มน้ำมัน กล่าวคือ พ่อค้ารวบรวมผลผลิตพริกรายใหญ่จะมารอผู้รวบรวมผลผลิตพริกรายย่อย ที่ปั๊มน้ำมันติดถนนสายหลัก และมีลานกว้าง หลังจากนั้นเวลาประมาณ 1-2 ทุ่ม พ่อค้ารวบรวมผลผลิตพริกรายย่อยก็จะมาส่งผลผลิตพริกเพื่อขายให้กับพ่อค้ารวบรวมรายใหญ่ ที่จุดนัดพบ รับเงินเสร็จพอจะกลับบ้าน ส่วนใหญ่ก็จะเติมน้ำมันไปด้วย จึงเป็นการเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกันเรียกได้ว่า Win-Win ทั้งคู่นะครับ           


                     ทำไมทั้งสองจังหวัดจังมีพริกขายในช่วงนี้ นี่คือการจัดการความรู้ของพี่น้องเกษตรกรที่มีการมาจากบรรพบุรุษ นั่นก็คือการเอาชนะธรรมชาติ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลผลิตพริกที่ดีมีคุณภาพ  กล่าวคือพี่น้องเกษตรกรทั้งสองจังหวัดนี้ จะมีการจัดการความรู้และได้มีการวางแผนการผลิตเพื่อให้ผลผลิตที่ออกมาไม่ให้ไปชนกับผลผลิตที่มาจากที่อื่น ซึ่งจะทำให้ได้ราคาที่สูง อีกทั้งในการจัดการความรู้สำหรับพี่น้องเกษตรเกษตรที่ไม่มีที่ดินที่อยู่ที่ดอนจะได้วางแผนการผลิต โดยทำการปรับระดับดินให้มีความสูงขึ้นมาเหนือระดับที่น้ำท่วมไม่ถึง เนื่องจากการที่จะได้ผลผลิตพริกออกมาในช่วงดังกล่าว เกษตรกรต้องปลูกในฤดูฝน ดังนั้นจึงต้องยกระดับดินให้สูงขึ้นป้องกันน้ำท่วมขังอันจะส่งผลเสียหายต่อผลผลิตได้????   แล้วท่านล่ะครับเผ็ดไหมๆ....
ขอบคุณครับ
อุทัย   อันพิมพ์
25 สิงหาคม 2549 

พริก พริก พริก ที่นี่มีแต่พริกทั้งนั้น

พริก พริก พริก ที่นี่มีแต่พริกทั้งนั้น 

พริก ที่เป็นพืชอาหารปรุงรส (เผ็ด) นั้นคนไทยเรารู้จักกันดีในเมนูอาหารคาวบนโต๊ะอาหาร บางคนถ้าขาดพริกเสียแล้ว กินอะไรก็ไม่อร่อย ไม่เจริญอาหาร ไม่มีรสชาติเอาเสียเลย ปีๆหนึ่งเราบริโภคพริกกันคิดคำนวณแล้วไม่ใช่น้อยเลย ทั้งที่กินสด หรือที่แปรรูปแล้วอย่าง พริกแห้ง พริกป่น ซ๊อสพริก น้ำพริกเผา เครื่องแกง และฯลฯ มีมากมายหลายรูปแบบให้เลือกกินเอาตามใจชอบ
ประเทศ ในแถบเอเชียนั้นบริโภคพริกกันเกือบทุกประเทศ มากบ้างน้อยบ้างขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมอาหารการกิน ในที่นี้จะชวนให้ไปดูคนจีนเขาบริโภคพริกกันอย่างไร โดยจะเน้นหนักถึงชนิดของพริกกับอาหารจานพริกกันเสียมากกว่า ดูว่ามีพริกสายพันธุ์ใหน รูปร่างอย่างไร ผิดแผกแตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน เข้าไปดูกันเลย ที่นี่เป็นศูนย์กลางพริกของประเทศจีนเลยทีเดียว เพราะเป็นเว็บไซท์ พริก ของประเทศจีนโดยเฉพาะ มีสารพัดพริกให้ได้ชมกัน (ไม่ใช่สารพัดพิษนะคร้บ)  ถึง 26 หน้าเลยทีเดียว เปิดเข้าไปดูได้เลยที่
http://www.lajiao.gov.cn  หน้าหลักของเว็บไซท์
ซึ่ง มีให้เลือกเอาเป็นภาษาจีน (ตัวย่อ) กับภาษาอังกฤษ แต่ คลิ๊กไม่แล้วไม่ทำงาน เพราะเขาไม่ได้จัดทำไว้ นี่คืออุปสรรค์ที่คนไทยเข้าไม่ถึงข้อมูลข่าวสารของประเทศจีน เป็นเอาว่าข้ามไปดูรูปกันดีกว่าที่หน้า
http://www.lajiao.gov.cn/news/pic_news.asp?sp=1&page=6
เป็นข่าวสารต่างๆของพริก ชนิดของพริก สายพันธุ์ การผลิต และเมนูอาหารที่ใช้พริกปรุง
มีให้เลือกทัศนาถึง 26 หน้า โดยกดเลือก ตัวหนังสือ 2 ตัวในวงเล็บปีกกา (ด้านล่าง) ที่สาม ไปเรื่อยๆ
ดูจบแล้วก็หาน้ำเย็นกลั้วปากแก้เผ็ดเอาเองก็แล้วกัน (อู๊ย เผ็ดจริงๆ)

พริกอวกาศ
พริกอวกาศ

พริกแม่ลูกดก
พริกแม่ลูกดก

พริกขี้หนู

ชื่อสามัญ :              Bird Chilli

ชื่อวิทยาศาสตร์    Capsicum frutescens Linn.

วงศ์ :                      SOLANACEAE
ชื่ออื่น ๆ :                พริกแด้, พริกแต้, พริกนก, พริกแจว, พริกน้ำเมี่ยง (เหนือ-พายัพ), พริก, พริกชี้ฟ้า,พริกขี้หนู (ภาคกลาง-เหนือ), ดีปลี (ใต้-ปัตตานี), ดีปลีขี้นก, พริกขี้นก, ใต้ (ภาคใต้), ลัวะเจีย (แต้จิ๋ว), มะระตี้ (สุรินทร์), ล่าเจียว (จีนกลาง), หมักเพ็ด (อีสาน)


ลักษณะทั่วไป :
ต้น :   เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นมีความสูงประมาณ 45-75 ซม.

ใบ :    เป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้ามกัน ลักษณะใบจะกลมรี ตรงปลายจะแหลม

ดอก : จะออกตรงง่ามใบเป็นกลุ่มประมาณ 1-3 ดอก เป็นสีขาว มีกลีบดอกประมาณ 5 กลีบ ส่วนเกสรตัวผู้จะมีอยู่ 5 อัน
จะขึ้นสลับกบกลีบดอก เกสรตัวเมียมี 1 อันและมีรังไข่ประมาณ 2-3 ห้อง

ผล :   ผลสุกจะเป็นสีแดง หรือแดงปนน้ำตาล ลักษณะผลมีผิวลื่นเป็นมัน ภายในผลนั้นจะกลวง และมีแกนกลาง รอบ ๆแกนจะมีเมล็ดเป็นสีเหลืองเกาะอยู่มากมาย และเมล็ดจะมีรสเผ็ด
การขยายพันธุ์ :
โดยการเพาะเมล็ด


สรรพคุณ :
ใช้ ปรุงรสอาหาร ช่วยเจริญอาหาร และรักษาอาการอาเจียน รักษาโรคหิด กลาก รักษาโรคบิด โดยการใช้พริกสด 1 เม็ด หรือมากกว่านั้นใช้กิน และอาการปวดบวมเนื่องจากความเย็นจัด โดยใช้ผงพริกแห้งทำเป็นขี้ผึ้ง หรือสารละลายแอลกอฮอล์ใช้ทา
อื่น ๆ พรรณไม้นี้เป็นพรรณไม้สวนครัวที่ขาดกันไม่ได้ เป็นพรรณไม้ที่ขึ้นง่าย แต่บำรุงรักษายาก เพราะใบอ่อนของพริกอร่อยทำให้แมลงต่าง ๆ ชอบกิน ผลแรกผลิใช้ผสมกับผักแกงเลียงช่วยชูรส ส่วนผลกลางแก่ใช้ใส่แกงคั่วส้ม จะได้อาหารที่มีรสเปรี้ยวอ่อน ๆ เพราะมีวิตามีซี และไส้พริกจะมีสารแคบไซซิน ที่ให้ความเผ็ดและมีกลิ่นฉุนเผ็ดร้อน
ป็นเครื่องปรุงอาหารช่วยชูรส ใส่น้ำพริก ยำ ทำเป็นน้ำปลาดองและยังเป็นยาช่วยกระตุ้นทำให้เจริญอาหาร บำรุงธาตุ หรือใช้ภายนอกเป็นยาทาถูนวดลดอาการไขข้ออักเสบ

คุณค่าทางอาหาร คุณค่าทางอาหารในส่วนที่รับประทานได้ 100 กรัม ประกอบด้วย

Cal Moist ure Protein Fat CHO Fibre Ash . Ca P Fe  A.I.U B1  B2 Niacin C

Unit % Gm. Gm. Gm. Gm. Gm mg. mg. mg.
mg. mg. mg. mg.
พริกขี้หนู 54 81.9 3.4 1.4 7.1 5.2 0.9 4 14 12 2417 0.29 0.11 1.5 44
ข้อมูลทางคลีนิค :
รักษาอาการบวม ฟกช้ำ ให้ใช้พริกขี้หนูที่แก่จัดเป็นสีแดงแล้วตากแห้งนำมาบดเป็นผงให้ละเอียดแล้วเทลงในวาสลินที่เคี่ยวจนเหลว กวนให้เข้ากัน แล้วนำไปเคี่ยวอีกจนได้กลิ่นพริก ใช้สำหรับทาถู รักษาอาการเคล็ด ถูกชน ฟกช้ำดำเขียว และอาการปวดตามข้อ  ให้ทาตรงบริเวณที่เป็นวันละครั้ง หรือสองวันต่อครั้ง

รักษาอาการปวดตามเอวและน่อง ให้ใช้ผงพริกขี้หนูและวาสลิน หรือผลพริก วาสลิน และแป้งหมี เติมเหล้าเหลืองจำนวนพอประมาณ แล้วคนให้เป็นครีม ก่อนที่จะใช้ ให้ทาลงบนกระดาษแก้วปิดบริเวณที่ปวด ใช้พลาสเตอร์ปิดโดยรอบ จะมีอาการทำให้เหงื่อออก การเคลื่อนไหวคล่องแคล่วขึ้น และรู้สึกหายปวด จากการตรวจสอบพบว่า ตามบริเวณที่พอกยาจะมีความรู้สึกร้อน และการไหลเวียนของโลหิต เพิ่มขึ้น
ข้อมูลทางเภสัชวิทยา :
สารสกัดจากพริก ใช้ทาลงบนผิวหนังจะทำให้หลอดเลือด ตามบริเวณนั้นขยายตัว และการไหลเวียนของเลือดเพิ่มขึ้น ถ้าใช้มากเกินไปอาจจะทำให้ระคายเคืองได้

ฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียและฆ่าแมลง แคปซายซินจะมีผลยับยั้งเชื้อ Bacillus cereus และเชื้อ Bacillus subtilis แต่ไม่มีผลต่อเชื้อ Bacillus aureus และเชื้อ Bacillus coli นอกจากนี้สารที่สกัดจากพริก โดยวิธีการต้มด้วยน้ำ จะมีฤทธิ์ในการฆ่าแมลง

ฤทธิ์ต่อระบบทางเดินอาหาร แคปซายซิน ทำให้เจริญอาหาร และกินอาหารได้มากขึ้น พริกสามารถช่วยกระตุ้นทำให้การเคลื่อนไหว   ของกระเพาะอาหารสุนัขเพิ่มขึ้นและน้ำสกัดที่ได้จากพริก จะช่วยลดการบีบตัวของลำไส้เล็กส่วนปลาย ileum   ของหนูตะเภาที่เกิดจากอะเซทิลโมลีนและฮีสตามีนได้ส่วนแคปซายซิน จะเพิ่มการบีบตัว ของลำไส้เล็กส่วนปลาย ileum ของหนูตะเภา     แต่ถ้าให้แคปซายซินซ้ำอีกครั้งในขนาดเท่า ๆ กัน จะมีผลน้อยมากหรือไม่มีผลเลย

ผลต่อระบบไหลเวียนโลหิต แคปซายซิน ที่สกัดจากพริก สามารถกระตุ้นหัวใจห้องบนของหนูตะเภา แต่ เมื่อฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำของแมวและสุนัข จะทำให้ความดันโลหิต และหัวใจเต้นช้า หายใจขัด และอาการพวกนี้จะหายไป   เมื่อเราตัดเส้นประสาทเวกัสออก (Vagotomy) ส่วนแคปซายซิน จะเพิ่มความดันโลหิตในแมว ที่ถูกตัดหัวออก (decapitated cat) ถ้าฉีดเข้าในหลอดเลือดดำของแมวที่ถูกวางยาสลบ จะทำให้ความดันโลหิตในปอดสูงขึ้น    แต่เมื่อฉีดเข้าบริเวณหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจโดยตรง จะทำให้หลอดเลือดนั้นหดตัว และฤทธิ์ของแคปซายซินต่อหัวใจ   ห้องบนของหนูตะเภานั้นจะเพิ่มทั้งความเร็ว และความแรงในการเต้น

ฤทธิ์ อื่น ๆ หลังจากกินอาหารที่ใช้พริกขี้หนูแก่จัดสีแดงเป็นเครื่องปรุงแต่งนานประมาณ 3 สัปดาห์ จะทำให้สารกลุ่มคอรืติโซน ในพลาสมาเพิ่มขึ้น และปริมาณที่ขับออกทางปัสสาวะก็จะเพิ่มขึ้น ส่วนสารที่สกัดได้จากพริก ถ้าฉีดเข้าช่องท้องของหนูถีบจักร จะมีฤทธิ์กดประสาท ทำให้เดินเซ เล็กน้อย และชักตายได้ เมื่อฉีดเข้าหลอดเลือดจะมีฤทธิ์กระตุ้นมดลูกของหนูขาว และมีฤทธิ์กระตุ้นปลายประสาทรับความรู้สึกทั่วไป
ความลับของพริกขี้หนู
แก้ปวดหัว ปวดหัวเนื่องมาจากไข้หวัด หรือตััวร้อน ใช้ใบพริกขี้ หนูสดๆ ตำกับดินสอพองปิดขมับ
แก้เจ็บคอเสียงแหบใช้ น้ำต้มหรือยาชงพริกขี้หนูกลัวคอแก้เจ็บคอและเสียงแหบได้โดยใช้พริกขี้หนู ป่น๑หยิบมือ เติมน้ำเดือดลงไป๑ แก้ว ทิ้งไว้พออุ่นใช้น้ำกลัวคอ
ช่วยขับลม  แก้อาหารไม่ย่อย เจริญอาหาร โดยกินพริกขี้หนูสวน รักษากระเพาะที่ไม่มีกำลังย่อยอาหาร
แก้ปลาดุกยักใช้พริกขี้หนูสดเขียวหรือแดงก็ได้ ขยี้ตรงที่ปลาดุก แทงจะหายปวด ขยี้แล้วจะรู้สึกเย็น(ธรรมดาพริกขี้หนูร้อน) ไม่บวม   ไม่ฟกช้ำด้วย
แก้เท้าแตกใช้พริกขี้หนูทั้ง ๕ ปูนขาว สื่งละพอควร เอาไปต้ม เอาน้ำมาแช่เท้าที่แตก ถ้าไม่หายเอาต้นสลัดได รากหนอนตากยาก  ใส่ลงไปด้วย
แก้บวม  ใบพริกขี้หนู บดผสมนำ้มะนาว พอกบริเวณที่บวม
รักษาแผลสดและแผลเปื่อย  ใช้ใบพริกขี้หนู ตำพอกรักษาแผล    สดและแผลเปื่อย(อย่าใช้พริกขี้หนูปิดแผลมากเกินไปเพราะจะทำให้ร้อน
ใบ้ใบเป็นอาหาร  ใบพริกขี้หนูมีคุณค่าทางอาหารสูงมาก เพราะมี ธาตุ แคลเซี่ยม ฟอสฟอรัส ไวาตามินเอ และบีอยู่มาก บำรุงกระดูก  บำรุง ประสาท
แก้พิษตะขาบและแมลงป่องกัด  ใช้พริกขี้หนููแห้ง ตำผงละลาย น้ำมาะนาว ทาแผลตะขาบกัด แมลงป่องต่อย หายเจ็บปวดดีนัก
มดคันไฟกัด   ใช้ใบหรือดอกพริกขี้หนูก้ได้ ถูบริเวณถูกกัด หายแล

สารพัดพริก ทั้งสวย ทั้งแสบ

= สารพัดพริก ทั้งสวย ทั้งแสบ =

พูดถึง พริก ป๋มนึกถึงความเผ็ด นึกถึงกับข้าวรสแซ่บ นึกถึงสาวแสบ นึกไปถึง เผ็ดสวยดุ ณ เป๋ไก๋ ซึ่งก็ไม่รู้ว่ามาเกี่ยวกันได้ไง
เมื่อก่อนเรารู้จักพริก ไม่กี่ชนิด มี "พริกขี้หนูสวน" เม็ดเล็ก ๆ แต่เผ็ดถึงใจแล้วยังมีกลิ่นหอม ตอนหั่นใส่น้ำปลาบีบมะนาว ไว้จิ้มกับปลากระดี่ตัวเล็กๆ ย่อมๆ ทอดกรอบ กินกับข้าวสวยร้อนๆ ก็เป็นมื้อสุดโปรดของป๋มแล้วตอนอยู่บ้านสวน เพราะทุกอย่างหาได้จากในสวน ไม่ต้องใช้ตังก์สักบาทเดียว แต่ตอนนี้ปลากระดี่หายากเข้าทุกวัน
โตขึ้นมาหน่อย พริกมันโตตามแฮะ.... "พริกไร่" เป็นคำนิยามใหม่ในหัวป๋มเมื่อก่อนนี้ เผ็ดน้อยกว่าพริกขี้หนูสวน เม็ดใหญ่ และยาวกว่า  นอกจากนี้ก็มี "พริกหวาน" ลูกตุ้มๆ มีทั้ง สีเขียว สีแดง สีเหลือง พวกนี้พอมีกลิ่นพริก แต่ไม่เผ็ด เนื้อหนา ใส่สลัดก็อร่อย แต่ป๋มว่าอร่อยกว่าถ้าเอาไปผัดกับเห็ดเออรินจิใส่พริกไทยดำกะทะร้อน  (เห็ดเออรินจิ บางคนก็บอกว่าเหมือนเห็ดพิการ ก้านเบ่อเร่อ ดอกนิดเดียว ฮา)
ช่วงหนึ่ง ก๋วยเตี๋ยว "พริกกะเหรี่ยง" ดังๆ ป๋มก็ว่ามันน่าจะเป็น พริกอีกพันธุ์ แต่เผ็ดโคตรๆ แต่ก็ไม่รู้แน่ว่ามันเป็นพริกอะไร  แล้วยังมี "พริกปาปริก้า" "พริกอินเดีย" ที่เค้าบอกว่ามันเป็นพริกที่เผ็ดที่สุดในโลก (ไว้ว่างๆ ถ้าไม่ลืมซะก่อนจะเขียนให้อ่านนะฮับ)


แล้ว เรื่องของพริก ก็มาทำให้ป๋มตื่นเต้น เมื่อไปเจอแปลงพริก ที่เม็ดของมันเต็มต้นไปหมด ดูสวยงาม  ก็ด้วยความใจดีของ น้องซันนี่ สาวขาลุย ปี 2 คณะเกษตรศาสตร์ มข. ที่ตั้งใจไว้ว่า ปีหน้า( ปี 3 )จะเลือกภาควิชาสัตวศาสตร์ ที่บอกว่าจะพาตะเวณดูคณะที่เรียน แล้วหนึ่งในนั้นก็คือ แปลงทดลองพริก ของ นักศึกษาปริญญาโท ที่หมวดพืชผัก สาขาพืชสวน  "พริกพวกนี้เค้าจะทดลอง พอได้พันธุ์ใหม่ ก็จะบันทึกไว้"  น้องซันนี่เล่าให้ฟังไปพลางๆ


พริกช่อประดับ  ต้นเตี้ยๆ ปลูกในกระถาง ออกดอกทีเป็นกระจุกเม็ดพริก (แต่ไม่รู้กินได้หรือเปล่า)
***************************

พริกพันธุ์ KKU-P33009 พอสุกจะสีแดงแปร๊ด เป็นตุ้มๆ เห็นแล้วน่ากัดชะมัด (แต่ป๋มไม่ได้ซาดิสต์)นะ มันน่ากินเจงๆ


ส่วนนี่เป็น KKU-P33009 เกิดทีหลังรูปด้านบนนะฮับ สียังเขียว แล้วก็ออกส้มๆ 
***************************

พริกพันธุ์ KKU-P37001 รูปร่างยังตุ้มอยุ่ แต่ปลายจะแหลม แล้วก็ออกค่อนไปทางเหลือง
**************************

พริกพันธุ์ KKU-P33030 เป็นลูกขนาดลูกหว้านะป๋มว่า แต่ม่วงอ่อนกว่าเยอะ

ดูซิ ลูกดกเป็นราวเชียว
******************************
   
พริกพันธุ์ KKU-P11008 จะผิดเพื่อนๆ ในแถวเดียวกัน เพราะต้นจะสูงชะลูดเชียว แล้วไปแตกกิ่งก้านด้านบน แถมเม็ดพริกก็จะผอมๆ ยาวมากๆ

ถัด ไปไม่ไกล ป๋มเห็นต้นพริก รูปทรงคล้าย ๆ กัน แต่เค้าเขียนว่า พริกพม่า ซึ่งต้นจะเตี้ยกว่า เจ้า KKU-P11008 แต่มันจะต่างกันยังไง คงต้องให้ นศ.ที่เค้าวิจัยมาบอกอ่ะฮับ (เสียดายไม่เจอเลยสักคน)

******************************


พริกพันธุ์ KKU-P11015 นี่ก็ต้นเตี้ยมากๆ แต่เม็ดพริกใหญ่ ยาว เกินหน้าพริกเขียวพริกแดง ที่ใช้ใส่ในแกงเผ็ดเลย แล้วดูเหมือนจะออกลูกดกมากๆ

สงสัยเม็ดใหญ่ ลูกดก ถ่วงน้ำหนักจนต้นเตี้ย เอิ๊กๆ
**************************

พริกพันธุ์ KKu-P28009 ต้นเตี้ย แต่เม็ดเล็กกว่า พันธุ์ P11015 (แต่เจ้าต้นที่ถ่ายมานี่ น้องเค้าบอกว่า เป็นโรค)
พริก แต่ละต้น ให้ผลดกมากๆ  สีแดงๆ เรียกความตื่นตาตื่นใจ ป๋มเดินถ่ายรูปไป จดชื่อพันธุ์ไป จนเกือบลืมว่าต้องรีบกลับไปดูงานที่ทำด้วย  "นี่ถ้าให้พี่อยู่นี่เป็นวันก็ยังได้เลยนะ" ป๋มบอกกับน้องซันนี่  "ว่าแต่ นศ.เค้าไปอยู่ไหนกันอ่ะ ไม่เห็นสักกะคน"

2 พันธุ์พริกทักทายกัน
"เค้า จะอยู่ที่อาคารเรียน ข้างในค่ะ" น้องซันนี่บอก อาคารเรียนที่ว่านี่ ต้องเลยเข้าไปอีกลึกทีเดียว ใครไม่มีรถ(มอไซด์) ก็ลำบาก แต่เวลาป๋มมีไม่มากนัก เลยคิดว่าพอแค่นี้ก่อน ปีหน้าค่อยมาดูใหม่ ....เย้ยยย.... ยังคิดจะกลับไปอีกเหรอนี่  (คิดเองเออเอง จนตกใจตัวเอง)

ไป มข.คราวนี้ แม้เวลาจะไม่มาก ไม่ได้ไปหลายสถานที่ แต่ป๋มว่า ได้เจอในสิ่งที่ถูกใจหลายอย่างเชียวฮับ อย่างถนนต้นสัก รูปสุดท้ายนี่ ก็ชอบจัง .... แล้วมาอ่านต่อตอนหน้านะฮับ จะพา "เลียบบึงสีฐาน" 

วิธีการแก้อาการแสบร้อนมือจากพริก





ในพริก มีสารสำคัญตัวหนึ่งที่ทำให้เกิดรสชาติเผ็ดร้อน ชื่อว่า สาร Capsaicin ซึ่งสารนี้นอกจากจะทำให้เรารู้สึกเผ็ดแล้ว ยังสามารถทำให้เราเกิดอาการแสบร้อน ในบริเวณที่สัมผัสกับพริกอีกด้วย เช่น แสบร้อนมือหลังจากเด็ดเม็ดพริก หรือหั่นพริก เป็นต้น

อาการแสบร้อนมือจากพริกนั้นสามารถแก้ไขได้โดย

1 เกลือ เกลือแกงที่เราใช้ปรุงอาหารนั้นสามารถช่วยลดอาการแสบร้อนมือจากพริกได้ โดยการนำเกลือประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ มาทามือให้ทั่วทาไว้สักพักแล้วจึงล้างออกด้วยน้ำสบู่ อาการแสบร้อนก็จะหายไป

2 น้ำมะนาว ให้นำน้ำมะนาวมาทาให้ทั่วมือ หรือบริเวณที่เกิดอาการแสบร้อนจากพริก จากนั้นล้างออกด้วยน้ำสะอาด

3 แป้ง ไม่ว่าจะเป็นแป้งอะไรก็ตาม แป้งฝุ่น แป้งเย็น แป้งเด็ก แป้งทำอาหาร นำมาทาให้ทั่วมือ โดยเฉพาะบริเวณที่แสบร้อนมากๆ จะช่วยให้อาการแสบร้อนจากพริกหายไปได้

4 ข้าวสาร นำมือที่มีอาการแสบร้อนจากพริกจุ่มลงในถังข้าวสาร หรือกระสอบข้าวสาร ทิ้งไว้สักพักจนอาการแสบร้อนเริ่มหายไป แล้วจึงค่อยไปล้างมือ

5 น้ำซาวข้าว แช่มือในน้ำซาวข้าวไว้ประมาณ 9-10 นาที อาการแสบร้อนมือจากพริกก็จะค่อยๆหายไป
6 น้ำมันพืช ใช้น้ำมันพืชทามือทิ้งไว้สักพักแล้วล้างออกด้วยน้ำสบู่

7 ใบเสลดพังพอน เมื่อโดนพริกแล้วให้รีบใช้ใบเสลดพังพอนขยี้จนน้ำออกมาแล้วทาให้ทั่วบริเวณที่แสบร้อน ทิ้งไว้สักครู่จึงเช็ดออกโดยไม่ต้องล้างน้ำ

8 ใบพริก ไม่ว่าจะเป็นใบของพริกอะไรก็ตาม จะใช่หรือไม่ใช่พันธุ์เดียวกับที่เราจับก็ได้ นำมาขยี้แล้วทาลงบนบริเวณที่แสบร้อน อาการแสบร้อนจากพริกก็จะหายไป